วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] การสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ของ https://mooc.chula.ac.th/

ปัจจัยที่มีความสำคัญในการวางแผนการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ
1. Demographic Characteristics  ลักษณะประชากร
- Market Size ขนาดของตลาด
- Population Growth อัตราการเกิดของประชาชน
- Population Distribution อัตราการกระจายตัวของประชากร
- Education การศึกษา

2. Economic Factors ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
- Income รายได้
- Urbanization การพัฒนาเมือง

3. Political & Legal Environment สภาพการเมืองและกฎหมาย
- สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมายของประเทศผู้ส่งออก
- สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมายของประเทศผู้นำเข้า
- กฎหมายระหว่างประเทศ

4. Geographic Characteristics ลักษณะทางภูมิศาสตร์

5. Cultural Environment สิ่งแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม


=======================================================================
International Marketing Communication
การสือสารการตลาดระหว่างประเทศ  คือ การสื่อสารที่มีผู้ส่งสารจากประเทศหนึ่ง
ทำการสื่อสารการตลาดไปยังผู้รับข่าวสารอีกประเทศหนึ่ง
ซึ่งเป็นการสื่อสารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาดระหว่างประเทศ

The Marketing Mix
ส่วนผสมการตลาดประกอบไปด้วย
1. Product สินค้า
- Product Standardization สินค้าเหมือนกันหมดทั่วโลก
- Product Adaptation เปลี่ยนสินค้าเพียงบางส่วน ให้เข้ากับแต่ละประเทศ
-  ผลิตสินค้าขึ้นมาใหม่เพื่อส่งออกประเทศนั้นๆ

2. Place สถานที่วางจำหน่าย
ช่องทางการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- Indirect Export การส่งออกทางอ้อม
- Direct Export การส่งออกทางตรง
- Manufacture Abroad การผลิตในต่างประเทศ
- Licensing การออกใบอนุญาต
- Management Contracting
- Foreign Assembly การประกอบสินค้าในต่างประเทศ
- Contract Manufacturing การทำสัญญาการผลิต
- Joint Venture การร่วมลงทุน
- Direct Investment  การลงทุนทางตรง

Distribution วิธีการกระจายสินค้าสู่ผุ้บริโภค
- Wholesale การขายส่ง
- Retail การขายปลีก

3. Price ราคา
- Market Penetration ตั้งราคาต่ำให้ผู้บริโภคสนใจซื้อ
- Market Skimming ตั้งราคาสูงเนื่องจากตลาดนั้นไม่มีคู่แข่งและสินค้ามีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร
- Competitive Pricing ตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด

4. Promotion การส่งเสริมการตลาด   **สำคัญที่สุด  ทำได้ยากสุด**
เครื่องมือของการส่งเสริมการตลาด
- Advertising การโฆษณา
- Personal Selling & Word of Mouth การใช้พนักงานขายและการบอกต่อ
- Sale Promotion การใช้กิจกรรมส่งเสริมการขาย
- Direct Marketing การขายตรง
- Public Relations การประชาสัมพันธ์
- IMC (Integrated Marketing Communication) การใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ

=======================================================================
Cultural Environment สิ่งแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม
** เป็นสิงสำคัญที่นักการตลาดต้องทำความเข้าใจมากที่สุด เพื่อที่จะเข้าถึงตลาดนั้นๆ**

E.B. Tylor
"วัฒนธรรม คือ ความซับซ้อนที่หมายรวมถึงความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม กฎหมาย ประเพณี
หรือลักษณะนิสัยอื่นใดที่บุคคลได้รับการถ่ายทอดมาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมนั้นๆ"

Edward T.Hall
"ไม่ว่าเราจะพยายามสักเท่าไรก็ไม่สามารถหลุดพ้นออกจากกรอบทางวัฒนธรรมที่เราเติบโตขึ้นมาได้
เพราะมันฝังรากลึกลงไปในระบบความนึกคิดของเรานั่นเอง"

วัฒนธรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งเราเรียนรู้ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

คำศัพท์สำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
- Self-Reference criterion การเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง
- Ethnocentrism คือ การคิดว่าวัฒนธรรมตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
และประเมินวัฒนธรรมผู้อื่นโดยใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นที่ตั้ง

องค์ประกอบของวัฒนธรรม
1. วัจนภาษา    สำคัญสุดในการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ
Back Translation คือ การให้ผู้ที่เป็นผู้พูดภาษาท้องถิ่นแปลสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
จากนั้นผู้แปลอีกคนแปลภาษาท้องถิ่นนั้นกลับมาเป็นภาษาแรกเริ่มอีกทีทำให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของความหมายได้

2. อวัจนภาษา    ภาษากายในแต่ละวัฒนธรรมแตกต่างกัน
Touch การสัมผัส
Space Usage การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
- Intimate Distance ระยะใกล้ชิด    ลึกซึ้งถึงขั้นสัมผัสร่างกาย
- Peronal Distance ระยะส่วนตัว  สนิทสนม
- Social Distance ระยะสังคม  ติดต่อธุรกิจกับคนแปลกหน้าทั่วไป
- Public Distance เว้นระยะห่างมาก จนไม่เหลือแม้แต่สีหน้าท่าทางใดๆ

Time Symbolism แนวคิดเรื่องเวลาเป็นผลมาจากวัฒนธรรม
ส่วนใหญ่แล้วในประเทศทางตะวันตกให้ความสำคัญต่อความตรงต่อเวลากว่าประเทศทางตะวันออก

สีและสัญลักษณ์ต่างๆ    ในแต่ละวัฒนธรรมมีความหมายต่างกัน   นักการตลาดควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องเล็ก

3. ความต้องการ
กฎของ Maslow (ควรระวังในการใช้ที่ประเทศทางตะวันออก เพราะทฤษฎีเกิดจากบริบทแนวคิดทางตะวันตกเป็นหลัก)

4. ค่านิยม    ค่านิยมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ต้องทำการศึกษาโดยเป็นกลาง ไม่ยึดค่านิยมของตัวเองเป็นหลัก
เช่น ชาวอเมริกันมีค่านิยมปัจเจกบุคคล Individualism  แต่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่พวกพ้อง Collectivism
ดังนั้นการทำโฆษณานำเสนอในเชิง  Indiviualism อาจจะเหมาะกับอเมริกา แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในญี่ปุ่น

5. ศาสนาและความเชื่อ
Robert Bartels
"พื้นฐานของวัฒนธรรมของชาติ และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวิถีปฎิบัติทางสังคม และธุรกิจ คือ ศาสนา และปรัชญาความเชื่อของคนในชาตินั้นๆ
ซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้บทบาททางสังคม แบบแผนพฤติกรรม และข้อจริยธรรมที่คนในสังคมยึดถือปฎิบัติ"

อิทธิพลของศาสนามีผลต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างมากมาย

6. ประเพณีและรูปแบบการบริโภค
มีอิทธิพลต่อสิ่งต่างๆดังนี้
- ประเภทสินค้าที่คนในสังคมบริโภค
- ช่วงเวลา
- วิธีการบริโภค
- บุคคลที่ซื้อ
- บุคคลที่เป็นผู้บริโภคสินค้า
- ปริมาณในการบริโภค

คำถามที่นักการตลาดควรตั้งถาม
- ผู้บริโภคซื้ออะไรและบริโภคอย่างไร
- ใครเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้า
- ผู้บริโภคซื้อสินค้าเท่าไร

=======================================================================
Creative Strategy  
แนวทางในการสร้างสรรค์งาน มีอยู่สองรูปแบบคือ  Standardized Approach กับ Localized Approach
จะเลือกทำแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย  และงบประมาณ

1. Standardized Approach มาตรฐานเดียวกัน
- Standardization of Marketing Communications
การสื่อสารการตลาดแบบมาตรฐานเดียวกัน  ตือ การสื่อสารการตลาดที่มีข้อความ เนื้อหา ภาพประกอบ ฯลฯ
เหมือนกันทั่วโลก ยกเว้นภาษาที่อาจใช้ต่างกันในแต่ละประเทศนั้น

สินค้าที่เหมาะในการสื่อสารมาตรฐานเดียวกัน
- สินค้าที่กลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศมีความคล้ายคลึงกัน
- สินค้าที่สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์
- สินค้าหรูหราสำหรับผู้บริโภคชั้นสูง
- สินค้าไฮเทค
- สินค้าที่มีจุดขายด้านเอกลักษณืของชาติ

2. Localized Approach เฉพาะของท้องถิ่น
- Specialization or Localization of Communications
การสื่อสารการตลาดแบบเฉพาะหรือแบบท้องถิ่น คือ การสื่อสารการตลาดที่มีแนวคิดหรือรูปแบบของโฆษณาที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ค่านิยมและวิถีชีวิตรวมทั้งความเชื่อของคนในแต่ละประเทศนั้นๆ

Execution  การสร้างงานสื่อสารการตลาดในต่างประเทศ
การวางกลยุทธ์  =  "พูดอะไร" (Strategy = What it said)
การสร้างงานสื่อสารการตลาด = "พูดอย่างไร" (Execution = How it is Said)

Marketing Communication Appeals
จุดจูงใจของการสื่อสารการตลาด  หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่การสื่อสารการตลาดใช้ในการดึงดุดความสนใจ
หรือมีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า โดยการใช้จุดจูงใจที่มีประสิทธิภาพ
ควรสอดคล้องกับค่านิยมและความชอบของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

ดูแนวทางการสร้างสรรค์งานได้จาก
https://www.canneslions.com/
http://clios.com/awards


=======================================================================
Marketing Communications Plan
แผนการสื่อสารการตลาด  หาวิธีการที่ดีที่สุดในการสื่อสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการของเรา
โดยตั้งคำถามต่อไปนี้เพื่อใช้ในการวางแผน
- Who กลุ่มเป้าหมาย(ในการซื้อสินค้าและบริการ) ที่เราต้องการสื่อสารเป็นใครบ้างและมีจำนวนเท่าไร
- What Media เราควรใช้สื่อชนิดใดเพื่อทำการสื่อสารการตลาด
- Where การสื่อสารการตลาดควรปรากฎในที่บริเวณใดบ้าง
- When การสื่อสารการตลาดควรทำในช่วงเวลาใด
- How Often กลุ่มเป้าหมายควรได้เห็นสื่อกี่ครั้งต่อเดือน
- How Much เราควรใช้งบประมาณสำหรับการสื่อสารการตลาดในแต่ละสื่อเท่าใดบ้าง

สิ่งที่นักวางแผนปัจจุบันต้องมี
- รอบรู้ เพื่อมาสร้างแผนการ
- รู้เรื่องการตลาด วิจัย และสื่อสาร
- ตัดสินใจและปกป้องการตัดสินใจเหล่านั้น

การตัดสินใจเลือกสื่อสำหรับตลาดในแต่ละประเทศ
1. National Media สื่อภายในประเทศ
สื่อท้องถิ่นจะมีความหลากหลาย แต่ละประเทศจะแตกต่างกัน โดยมีหลักพิจารณาในการเลือกดังนี้
- Media Availability ความเป็นไปได้ในการจัดหาสื่อ
- Media Vablity ความคุ้มค่าในการใช้สื่อ
- Media Coverage การครอบคลุมของสื่อ
- Media Cost ราคาของสื่อ
- Media Quality คุณภาพของสื่อ

Local Media ตัวอย่างของสื่อท้องถิ่น เช่น โทรทัศน์  วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้าย
สื่อในโรงหนัง  สื่อเคลื่อนที่

2. International Media สื่อระหว่างประเทศ
- Magazine นิตยสารสากล
- Newspaper หนังสือพิมพ์ระดับโลก
- Television ช่องโทรทัศน์เผยแพร่ทั่วโลก
- Streaming
- Social Media


=======================================================================
การทำวิจัยการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ

- Life Style Studies การหาข้อมุลเกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิต
- Concept Testing การทดสอบแนวคิด
- Message Testng การทดสอบเนื้อหาหรือข้อความของการสื่อสารการตลาด

ขั้นตอนการทำวิจัย
1. ตั้งคำถาม   ***สำคัญมากที่สุด***
ควรระวังในการตั้งคำถาม เพราะคนแต่ละประเทศอาจมีทัศนคติและพฤติกรรมไม่เหมือนกัน

2. หาข้อมูลจากไหน

3. ใช้อะไรวัด

4. จัดเก็บข้อมูล
- Focus Group การสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ
- Personal surveys การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
- Telephone Surveys การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
- Mail Surveys การสัมภาษณ์โดยใช้จดหมายหรือทางสื่อดิจิทัลต่างๆ
- Mall Surveys การสัมภาษณ์ในห้างสรรพสินค้า

5. วิเคราะห์


=======================================================================
Management
***จุดประสงค์สำคัญสุด ต้องทำให้คนในท้องถิ่น เชื่อมั่นในเรา***
แนวทางการบริหารการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ

1. Centralization การบริหารแบบรวมศูนย์
บริษัทแม่จะเป็นผู้วางแผน วางนโยบาย การจัดการในทุกๆด้าน
- การวางกลยุทธ์การตลาด
- การคัดเลือกบริษัทโฆษณา
- การวางแผนรณรงค์
- กลยุทธ์การสร้างสรรค์งาน
- กลยุทธ์การใช้สื่อ
- งบประมาณ
- รูปแบบการส่งเสริมการขาย

ข้อเสียของการบริหารการสื่อสารการตลาดแบบรวมศูนย์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆในตลาดต่างประเทศ
สำนักงานใหญ่ต้องสามารถเข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องคอยเฝ้าดูตลอดเวลา

2. Decentralization การบริหารแบบกระจายอำนาจ
ให้บริษัทย่อยสามารถดูแลตัวเองได้   บริษัทแม่เพียงแค่สนับสนุนกลยุทธ์การตลาดต้นแบบ
เช่น  บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์

3. Combination การบริหารแบบผสมผสาน 
Centralization กับ Decentralization มาผสมกัน
โดยการวางนโยบายที่สำคัญบางอย่างยังคงเป็นการตัดสินใจของสำนักงานใหญ่
แต่การบริหารภายในของสาขาย่อยนั้นเป้นการตัดสินใจของผู้จัดการสาขา


Selecting the Marketing Communications Agency  แนวทางการเลือกบริษัทตัวแทนการสื่อสารการตลาด
1. Domestic and In-House Marketing Communications Agencies
แนวทางนี้มักใช้ในบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อดี การใช้ In-House คือ บริษัทมีความรู้ในสินค้าตัวเองเป็นอย่างดี
ข้อเสีย  In-House อาจไม่ทราบถึงสภาพแวดล้อมด้านต่างๆของตลาดต่างประเทศได้ดีเท่าที่ควร

2. International Marketing Communications Agency and Global Networks
บริษัทตัวแทนด้านการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ
บรืษัทขนาดใหญ่มักจะใช้แนวทางนี้ เลือกใช้บริษัทที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะมีเครือข่ายระดับโลก

3. Local Agency 
บริษัทตัวแทนท้องถิ่น  มักเป็นตัวแทนบริษัทขนาดเล็ก มีความคล่องตัวในการทำงานสูง
Decentralization มักเลือกใช้ Local Agency
เนื่องจากบริษัทที่อยู่ในท้องถิ่นมีความสามารถในการต่อรองและปรับเปลี่ยนการวางแผนโฆษณาได้อย่างฉับไว


=======================================================================

กฎหมายและจรรยาบรรณในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน เป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องรู้ให้ลึกเพื่อใช้ในการทำการสื่อสารการตลาด
กฎเกณฑ์ต่างๆของการสื่อสารการตลาดในแต่ละประเทศมักได้รับอิทธิพลมาจาก

- กฎหมายข้อบังคับ

- ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ ก็เป็นสิ่งที่ควบคุมการสื่อสารการตลาด
เช่น เคสนาฬิกา Seiko ในมาเลเซีย
จากคำโปรยโฆษณา "Man invented Time,Seiko Perfected it"
เปลี่ยนเป็น "Man invented Time Keeping,Seiko Perfected it"
เนื่องจากพระเจ้าเป็นผู้สร้างเวลาไม่ใช่มนุษย์

- สภาพแวดล้อมทางการเมือง

- ประวัติศาสตร์

- ค่านิยมของกลุ่มชน โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง และผู้นำประเทศนั้นๆ

จรรยาบรรณในการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ
Consumerism การเคลื่อนไหวของผู้บริโภคเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการให้บริษัทต่างๆสนับสนุน
- ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- การให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- การปกป้องผู้บริโภค

หลักปฎิบัติที่นักสื่อสารการตลาดที่ดีควรยึดถือปฎิบัติ
1. ใครคือผู้ที่ไม่เป็นเป้าหมายในการสื่อสารการตลาด
2. อะไรคือสิ่งไม่ควรใช้ในการสื่อสารการตลาด
3. เนื้อหาหรือข้อความใดไม่ควรใช้ในการสื่อสารการตลาด
4. อะไรคือสัญลักษณ์ที่ไม่ควรใช้ในการสื่อสารการตลาด
5. อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและตัวแทนด้านการสื่อสารการตลาด
รวมทั้งสื่อการตลาดต่างๆ
6. อะไรคือสิ่งที่เป็นพันธัต่อการทำธุรกิจ  และอะไรคือพันธะต่อสังคมส่วนรวม

ข้อกล่าวหาของการสื่อสารการตลาดในประเทศด้อยพัฒนา
การสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศของกลุ่มบริษัทที่มีเงินทุนมหาศาลจากประเทศที่ร่ำรวย
ถูกกล่าวหาว่าทำให้สินค้าท้องถิ่นไม่สามารถต่อสู้ทางการตลาดได้ รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคในประเทศด้อยพัฒนา
หลงใหลและมัวเมาในลัทธิทุนนิยมตะวันตก อันได้แก่ การมุ่งหากำไรสูงสุด

โฆษณาสร้างความต้องการที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดความฟุ่มเฟือย

ข้อควรระวังในเรื่องต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหา
1. มีการแสดงออกถึงความต้องการ และค่านิยมของท้องถิ่น
2. ควรส่งเสริมการใช้จ่ายที่มีเหตุผล และเป็นหลักการประหยัดอดออม
3. ควรส่งเสริมการรับรู้เรื่องผลกระทบของการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยที่มีต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลาย

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ทุกอย่างมีราคา

Where to Invade Next  หนังสารคดีสไตล์จิกกัดของไมเคิล มัวร์ ผู้กำกับหัวเอียงซ้าย เคยเป็นกระแสมื่อปีก่อนในบ้านเรา
มีเหล่าเซเลปคนดังหลายคนพูดถึงกันปากต่อปาก อยากให้เมืองไทยมีสวัสดิการแบบนั้นบ้างจัง
กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง เมื่อนักวิชาการหยิบมาใช้เสวนาว่าด้วยเรื่องรัฐสวัสดิการเมื่อเร็วๆนี้
แต่ผมไม่มีประเด็นมาอภิปรายเรื่องนี้หรอก ความสามารถไม่ถึง ☺

โดยส่วนตัวผมมองว่าสารคดีของอีตามัวร์เนี่ย นำเสนอด้านเดียวไปหน่อย   ใครดูหนังจบแล้วอาจจะเกิดอารมณ์ฮึกเหิมตาวาวไฟลุก 
"ประเทศกูต้องมีอะไรแบบนี้บ้างโว้ย !!!!" 
 ประมาณเดียวกับอ่านหนังสือของคาร์ล มากซ์จบหนึ่งเล่ม   แล้วอยากเป็นนักปฎิวัติ อยากเปลี่ยนแปลงสังคม

แต่ในหนังเขาก็บอกอยู่แล้วมาเก็บแค่ดอกไม้ เพราะงั้นถ้าจะดูเรื่องนี้ต้องคิดลึกๆ  อย่าพึ่งปล่อยให้แฟนตาซีครอบงำ
ต้องคิดหน้าคิดหลัง คิดบนล่างซ้ายขวา คิดให้หมดทุกมุม  เพราะในความเป็นจริง มันไม่มีอะไรดีงามสมบูรณ์แบบหรอก
สวัสดิการชั้นเลิศจะเกิดได้ย่อมต้องผ่านเงื่อนไขกระบวนการแลกเปลี่ยนอย่างแสนสาหัสมาก่อน
และเมื่อได้มาแล้ว จำเป็นต้องจัดการผลกระทบด้านลบที่จะตามมา 
รวมทั้งมีมาตรการรับมือกรณีไม่คาดฝัน เช่น เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ  เก็บภาษีไม่เข้าเป้า  เป็นต้น

ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ทุกอย่างมีราคา  ราคาที่ต้องจ่ายด้วยการต่อสู้ฝ่าฟันเรียกร้อง จ่ายด้วยเลือดเนื้อชีวิต 
พอได้มาแล้ว ยังต้องปกป้องหวงแหนต่อไป พยายามทำให้ดำรงอยู่ให้นานที่สุด

สำหรับสังคมไทยเรานั้น ก็อยากได้สวัสดิการดีๆกับเขาเหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่อยากจ่าย ไม่ลุกขึ้นมาสู้เรียกร้องเอง 
รอฟ้ารอฝนไปวันๆ รอใครสักคนที่มีอำนาจพอจะบันดาลให้  หรือปล่อยให้คนส่วนน้อยเคลื่อนไหวสู้เพียงลำพัง 
ถ้าเขาทำสำเร็จก็รอรับผลประโยชน์ตามไปด้วย  ถ้าเขาทำไม่สำเร็จก็แล้วไป

คงเพราะได้มาง่ายเกินไปหรือไม่รู้ว่าตัวเองจ่ายอะไรไปบ้าง  ถึงไม่เห็นคุณค่า
ครั้นได้มาแล้วก็ไม่รักษาไม่ดี  พอมีปัญหาจะโดนทำลายทิ้ง ก็ไม่ออกมาปกป้องกัน ปล่อยให้เป็นหน้าที่คนส่วนน้อยเหมือนเดิม
ไอ้ที่ร้ายสุดดันไปเชื่อพวกที่จะทำลายผลประโยชน์ของตนเองซะสนิทใจ
อะไรทำให้เราเป็นเช่นนั้น  หรือเพราะเราไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง 
เรามีหน้าที่ให้ปฎิบัติ  เรามีสิทธิให้รักษา แต่ดูเหมือนที่ผ่านมาเราใช้ทั้งคู่ได้ไม่ดีเท่าไรนัก 


วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

American Vandal เมื่อโดนสังคมพิพากษา

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมได้ดูมินิซีรีย์เรื่อง American Vandal  เป็นหนังแนวตลกร้าย ดำเนินเรื่องแบบสารคดีปลอมๆ (Mockumentary)       
       
เรื่องย่อมีอยู่ว่า  ณ ลานจอดรถโรงเรียน  มีใครก็ไม่รู้แอบไปพ่นสเปรย์วาดรูปจู๋ใส่รถของครูทั้ง 27 คัน
ทั้งครูบาอาจารย์และนักเรียนทั้งหลายต่างเห็นฟ้องต้องกัน ว่านี่เป็นฝีมือนักเรียนตัวแสบประจำโรงเรียนแน่นอน ต้องไล่ออกทันที
แต่สองคู่หูสมาชิกชมรมโสตทัศนศึกษาไม่คิดเช่นนั้น เกิดความแคลงใจสงสัย จึงทำสารคดีเพื่อตามหาความจริงของเรื่องนี้ขึ้นมา

พล็อทเรื่องฟังดูงี่เง่า ก็แค่เด็กไม่ดีคนหนึ่งโดนไล่ออกจะไปใส่ใจทำไม  แต่สารคดีทำกันอย่างจริงจังเล่นใหญ่มาก 
เพราะจริงจังมันเลยดูตลกขำๆ   ทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่   ไอ้เด็กพวกนี้มันช่างทุ่มเทกับเรื่องไร้สาระได้บ้าบอดี

นั่นเป็นแค่ความรู้สึกช่วงครึ่งแรกของเรื่อง  แต่ช่วงครึ่งหลังนี่เล่นเอาซะจุกอกหนักอึ้งพูดไม่ออก
เป็นความงี่เง่าที่จิกกัดสังคมได้อย่างเจ็บแสบ

ซีรีย์นี้มีทั้งหมด 8 ตอน ตอนละ 30 นาที  ตอนดูครั้งแรกกะดูเล่นๆ ไม่คิดว่าตัวเองจะดูได้จนจบ
เพราะนึกว่าเป็นหนังวัยรุ่นตลกธรรมดา  ยิ่งพล็อทเรื่องแค่นั้นคงไม่มีอะไรให้ชวนติดตามนัก
แต่ผิดคาดกลับได้ประเด็นให้คิดต่อมากมาย

การตัดสินใครจากพฤติกรรมในอดีต มันเป็นตรรกะพื้นฐาน  เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้ใครมาตัดสินตัวเรา 
เพราะทุกคนมีทะเบียนประวัติ มีฐานข้อมูลชีวิตจัดเก็บอยู่ในสังคมรอบข้างโดยอัตโนมัติ
หากเกิดเรื่องราวใดขึ้นมา  คนที่เข้าข่ายก็จะโดนเพ่งเล็งขึ้นมาเป็นอันดับแรกเพราะวีรกรรมในอดีตมันฟ้อง 
แต่ได้กระทำการลงไปจริงไหม นั่นเป็นอีกเรื่องที่ต้องสืบสวนต่อไป        
       
เช่น กรณีตัวเอกของ American Vandal  มีประวัติเป็นเด็กแสบมีเรื่องกับครูบ่อยๆ ชอบวาดรูปจู๋ในห้องเรียน
ไม่แปลกเลยที่จะโดนเป็นผู้ต้องสงสัยคดีพ่นสเปรย์วาดรูปจู๋รถครู

การส่งเสียงคัดค้านว่าไม่ได้ทำ เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่มันช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าคุณทำตัวแบบนั้นมาตลอดจริง
ยิ่งถ้าเคยก่อวีรกรรมหนักหน่วงมีพฤติกรรมชัดเจน  ยิ่งส่งผลให้คำพิพากษาจากสังคมมาไวก่อนที่จะได้สืบสาวราวเรื่องเสียอีก
ยอมรับเถิดสังคมที่ให้น้ำหนักข้อเท็จจริงหนักกว่าประวัติพฤติกรรมบุคคล สังคมแบบนั้นถึงมีอยู่จริงก็เป็นส่วนน้อย แทบจะเป็นสังคมในอุดมคติ

หากไม่อยากให้มีปัญหาในภายหลัง จำเป็นต้องเล่นไปตามกลไกสังคม พฤติกรรมแบบไหนที่สังคมว่าดี ก็ทำตัวไปตามนั้น
แต่ถ้าหากอยากเป็นตัวของตัวเอง  ก็ต้องพิจารณาถึงตัวตนของตัวเอง  ในมุมมองของสังคมแล้ว ตัวตนที่เราเป็นอยู่นั้น มันอยู่ในรูปแบบที่ดีหรือไม่ดี 
ถ้าไม่ดีก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าทำไมถึงไม่ดี  ซึ่งมันมีหลักง่ายๆในการพิจารณา ดูแค่ว่าสิ่งที่ตันตนเราเป็นอยู่นั้นได้เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่
ถ้าเบียดเบียนนั่นแหละคือไม่ดี    แต่ถ้าไม่เบียดเบียนใครแต่คนอื่นว่าไม่ดี กรณีนี้น่าจะเป็นปัญหาที่มุมมองของพวกเขาเหล่านั้นมากกว่า

เช่น แก๊งค์ของตัวเอก American Vandal มีพฤติกรรมชอบแกล้งคน บางครั้งก็เล่นแรงจนไม่น่าให้อภัย  นั่นแหละเรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่น

เนื้อแท้อาจไม่ใช่คนไม่ดี ทำไปโดยความคึกคะนอง  พอถึงจุดหนึ่งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อาจคิดได้ กลับตัวเป็นคนดี
แต่ส่วนใหญ่ไปไม่ถึงจุดนั้น  สุดท้ายมันมักจะมาจบที่ว่า ถึงแม้นั่นมันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของฉัน
แต่ในเมื่อสังคมพิพากษาให้ฉันเป็นแบบนั้น ฉันก็จะเป็นแบบนั้นให้ดู.

เครดิตรูปภาพประกอบ : IMDb

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Critical Thinking for Business

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ของ https://mooc.chula.ac.th/

Paradigm กรอบความคิด  ,ประสบการณ์เก่าของเราเป็นตัวกรองข้อมูล

Critique  วิพากษ์   ประกอบไปด้วย การแบ่งแยก (Separtate) และการเลือก (Choose)

Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์

Socratic Method  วิธีการตั้งประเด็นคำถาม
กระบวนการกระตุ้นเปิดประเด็นให้เกิดการอภิปราย แสดงความเห็นเป็นวงกว้าง
พร้อมทั้งตั้งคำถามเพื่อให้เจาะลึกลงไปว่าความคิดดังกล่าวถูกสังเคราะห์ได้อย่างไร

การอภิปรายเรียบเรียงกระบวนการคิดจะทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขวางขึ้น
สามารถคิดถึงคำตอบที่เป็นไปได้มากขึ้นที่สำคัญช่วยลดอคติของตน
(เมื่อลดอคติ -- > pardigm มีความยืดหยุ่น  เปิดกว้างให้เรียนรู้อะไรใหม่ๆได้มากขึ้น)
How do you know that ?
คุณรู้ได้อย่างไร ?
เมื่อเรารับข้อมูล ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ให้ถามตัวเองอีกครั้ง
- เรารู้ได้อย่างไร
- คิดได้อย่างไร
- ที่มาที่ไปของความคิดนั้น
- ทำไมถึงคิดเช่นนั้น

Thinking About Thinking  คิดก่อนคิด
เปลี่ยนวิธีคิดแบบ What is ( ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ )
เป็น  What can be (มีอะไรที่สามารถเป็นไปได้อีกบ้าง   , ทางเลือกอื่น ,   สิ่งน่าสนใจอื่นๆ)

เทคนิคการตั้งคำถาม
   การตั้งคำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ดีต่อไปได้
- อย่าเพิ่งปักใจเชื่อ
- อย่าเพิ่งพอใจกับคำตอบในขณะนั้น
- ฝึกฝนให้มีความช่างสงสัยและเริ่มตั้งคำถาม
- มีความเป็นไปได้อื่นๆอีกหรือไม่

- What if จะเกิดอะไรขึ้นถ้า...
- What if...Then  แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ต่อไป(ผลลัพธ์
)

Types of Questioning
- Position จุดยืน คือ การยืนยันคำตอบหนึ่งๆ เป็นความพยายามที่จะสรุปประเด็น
เช่น   ขาดทุนติดกันมาหลายเดือน ควรจะทำธุรกิจต่อไปหรือไม่  คำตอบมีอยู่สองคำตอบ  ทนทำต่อไปหรือเลิกทำ 
ถือว่าเป็นคำถามที่มีจุดยืน  การตั้งคำถามนี้ในที่ประชุมโดยใช้เสียงโหวตตัดสิน  ผลโหวตอาจไม่ได้นำพาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง
หรือแม้แต่ใช้ตั้งถามตัวเอง ก็อาจจะเผลอตอบไปโดยใช้อารมณ์ตัดสินล้วนๆ

- Interest
จุดสนใจ คือ การระดมความคิดจากทุกๆฝ่าย เพื่อมุ่งแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกอื่นๆที่แตกต่างออกไป
เช่น    มีทางเลือกอะไรบ้าง ?   ,หาสาเหตุทำไมถึงขาดทุน , หาวิธีดำเนินงานธุรกิจใหม่ ,     คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาจากวิธีการต่างๆที่นำมาแก้ไขปัญหา





วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Decision Tree

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  Classification

Decision Tree เป็นการทำ Model Construction รูปแบบหนึ่ง
ซึ่งแบบจำลองจะมีลักษณะคล้ายตันไม้    มีการสร้างกฎต่างๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจไปแต่ละกิ่งก้านสาขา
โดยมี algorithm การทำงานที่ไม่ซับซ้อน  ทำให้สามารถทำความเข้าใจ Pattern รูปแบบได้ง่าย


-  จุดยอดภายใน  แทนลักษณะที่นำมาใช้แยกกลุ่มข้อมูล
-   ก้าน แทนค่าผลการทดสอบ
-  ใบ แทนค่าคลาส
 ขั้นตอนการสร้าง Decision Tree
1.  ใช้ข้อมูล  training data ทั้งหมดเป็น root
2.  แยกกลุ่มตามลักษณะประจำที่เลือก แล้วเรียกซ้ำ
3.  รวมและกำจัดกิ่งที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องน้อยออกไป

ID3
- หลักการทำงานของ ID3 คือ เลือก Classifier แล้วทดสอบแต่ละ Nodeของ Dicision Tree
- หาตัว Classifier ตัวแบ่งประเภทข้อมุลที่จำแนกข้อมูลได้ดีที่สุด เพื่อใช้สร้าง Deicision Tree ที่ดีที่ที่สุด
- เป็น Iterative Process , Greedy Algorithm  แบ่งซ้ำไปเรื่อยๆจนไม่มีคว่ามสับสน

Entropy คือ  ค่าความสับสนของข้อมูล  การลด Entropy ทำได้โดยการหา Classifier ที่จำแนกข้อมูลได้ดีที่สุด

Entropy Measure
- ถ้ากลุ่มข้อมูลเหมือนกันหมด  จะได้ Entropy = 0
- กลุ่มข้อมูลที่แตกต่างกันและมีค่าเท่ากัน  จะได้  Entropy = 1
 
ดังนั้นค่า Entropy จะอยู่ระหว่าง 0 กับ  1   (0.003 ,0.413 , 0.917 เป็นต้น)
0 คือไม่มีความสับสนเลย  ,  1  คือสับสนสูงสุด    
(เพราะฉนั้นเวลาหา log จึงใช้ฐาน 2)

Information Gain คือ   การเพิ่มคุณค่าของข้อมูล  โดยการลด Entropy ยิ่งน้อยยิ่งดี

 



วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Classification

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ : Association Rule Discovery

Data Classification (การจำแนกประเภทข้อมูล)
- เป็นกระบวนการหากฎเพื่อจำแนกประเภทของวัตถุจากคุณสมบัติของวัตถุ
- เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบ (Model) จัดการข้อมูลให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้

Classification and Prediction
คือ การแยกประเภทข้อมูลให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้ โดยการสร้างกฏเพื่อช่วยในการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่
เพื่อใช้ทำนายแนวโน้มการเกิดขึ้นของข้อมูลที่ยังไม่เกิดขึ้น  รวมทั้งทำนายค่าที่ไม่ทราบหรือค่าที่หายไป
 มี 3 ขั้นตอนดังนี้


1. Model Construction (การสร้างต้นแบบ)
สร้างจาก Training Data(ข้อมูลเรียนรู้) กลุ่มข้อมูลที่จะสอนว่าโมเดลควรเป็นอย่างไร
โดย Training Data จะถูก Algorithm วิเคราะห์แบ่งประเภท
สร้างเป็นโมเดลในรูปแบบของกฎการแบ่งประเภท

2. Model Evaluation (การประเมิน)
เมื่อได้โมเดลแล้ว   จะใส่ Testing Data(ข้อมูลทดสอบระบบ) เพื่อประเมินผลโมเดลว่ามีความถูกต้องแค่ไหน
และในขั้นตอนนี้จะปรับปรุงโมเดลจนกว่าจะได้ความถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ  เมื่อสมบูรณ์แบบก็จะเป็น Classifier Model

3. Classifier Model (จำแนกประเภท)
ต่อจากนั้นนำ  Unseen Data ข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  ใส่เข้าไปในโมเดลนี้ เพื่อทำการ Classification จัดจำแนกประเภทข้อมูล
แล้วไปทำการ Perdict ทำนาย

เนื้อหาต่อไป :  Decision Tree

[บันทึกความรู้] Association Rule Discovery

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  Data Mining

Association Rule
กฎความสัมพันธ์  ใช้ค้นหาความสัมพันธ์ที่แฝงอยู่ในข้อมูล  ,หา Frequency pattern (รูปแบบที่กิดขึ้นบ่อย )


Itemset รายการที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง
Support ค่าสนับสนุน  ความถี่ของจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่ประกอบด้วย A และ B
Confidence ค่าความเชื่อมั่น    ความถี่จำนวนข้อมูลเมื่อประกอบด้วย A แล้วประกอบด้วย B ด้วย
Minimum Support ค่าสนับสนุนต่ำสุดที่ยอมรับได้    ต่ำกว่านี้จะไม่นำไปวิเคราะห์
Minimum Confidence ค่าเชื่อมั่นต่ำสุดที่สนใจ

เช่น   ทำ  Market Basket Analysis วิเคราะห์พฤติกรรมสินค้าที่ลูกค้ามักซื้อไปด้วยกัน
A & B ->C[sup,conf]
สมมุติได้ค่ามา  sup = 20% ,conf = 90%
แสดงว่า   จำนวนลูกค้าที่ซื้อ A,B,C มี 20% ของลูกค้าทั้งหมด
 แล้วมีโอกาส 90 % ที่ลูกค้าซื้อสินค้า A และ B แล้วจะซื้อ C ไปด้วย


รูปแบบกฎความสัมพันธ์มีลักษณะดังนี้

        X -> Y  (support  , confident )

Support คือ ค่าสนับสนุนการเกิดขึ้นของกฎความสัมพันธ์ในฐานข้อมูล หาได้จาก
จำนวนลูกค้าที่ซื้อ X และ Y / จำนวนลูกค้าทั้งหมด 
แล้วคูณด้วย 100 แปลงเป็น %

Confident คื อค่าความเชื่อมั่นของกฎความสัมพันธ์ หาได้จาก
จำนวนลูกค้าที่ซื้อ X และ Y / จำนวนลูกค้าที่ซื้อ X 
แล้วคูณด้วย 100 แปลงเป็น %

X-->Y[20%,80%]   หมายถึง
-  จำนวนลูกค้าทั้งหมดที่ซื้อ X และ Y เป็นจำนวน 20% จากจำนวนลูกค้าทั้งหมด
-  มี  80% ของลูกค้าที่ซื้อ X แล้วจะซื้อ Y ไปด้วย


การหากฏความสัมพันธ์ด้วยวิธี  Apriori Alogorithm
ขั้นตอนที่ 1:  หา frequent itemset เป็นการหารูปแบบของข้อมูลที่เกิดขึ้นร่วมกันบ่อยๆ ในฐานข้อมูล

- สร้างรูปแบบของ itemset  (join) จะใช้รูปแบบของ itemset ที่มีค่ามากกว่า minimum support
มาทำการสร้างรูปแบบของ itemset ที่มีขนาดยาวเพิ่มขึ้นไปทีละหนึ่งขั้น

- การนับค่า support (count) หลังจากที่สร้างรูปแบบของ itemset ได้แล้ว
ขั้นถัดมาจะทำการคำนวณค่า support ที่เกิดขึ้น 
โดยที่ support คือจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่พบ itemset ในฐานข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2: สร้าง association rule
หลังจากที่หา frequent itemset ได้แล้ว จะนำรูปแบบที่หาได้มาสร้างเป็นกฏความสัมพันธ์

Frequency itemset คือ กลุ่มของ item set ที่มีค่า support มากกว่า minimum support


 ตัววัดประสิทธิภาพของกฏ
 lift คือ ค่าที่บ่งบอกว่าการเกิดรูปแบบ LHS และ RHS มีความสัมพันธ์กันแค่ไหน
โดยถ้าค่า lift เป็น 1 แสดงว่ารูปแบบ LHS และ RHS ไม่ขึ้นต่อกัน (independent)
ค่า lift คำนวณได้จาก
 
 

 confidence แสดงความเชื่อมั่นของกฏความสัมพันธ์ที่เมื่อรูปแบบ LHS เกิดขึ้นแล้วรูปแบบ RHS จะเกิดขึ้นด้วยเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์
การคำนวณค่า confidence หาได้จาก

---------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่าง : การคำนวนโดยใช้  Apriori Alogorithm

   


กำหนดค่า minimum support ไว้ที่ 50%


1. หาค่า Support ของแต่ละ Items  แล้วตัด Item ที่มีค่า Support ต่ำกว่าค่า Minimum ออกไป


2. นำ  item ที่ได้จากข้อ 1. มาสร้างเป็น itemset ทีมี Size ความยาว 2 (เพิ่มไปอีก 1 ชั้น)
แล้วตัด Itemset ที่มีค่า support ต่ำกว่า minimum ออกไป


3. ทำเหมือนข้อ 2 แต่เพิ่ม size ไปอีก 1 ชั้น เป็น 3
โดยมีเงื่อนไขว่าข้อมูล item แรกจะต้องมีค่าเหมือนกันจึงสามารถทำการ join กันได้
เช่น  {เบียร์, ขนมปัง, นมสด} เกิดจากการ join {เบียร์, ขนมปัง} และ {เบียร์, นมสด}

4. เนื่องจากไม่สามารถทำ Size ได้ยาวกว่านี้    ขั้นตอนการหา frequent itemset จึงหยุด
 ต่อไปคือทำการคำนวนหา  Confience และ lift




เนื้อหาต่อไป :  Classification

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Data Mining

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  Business Intelligence

Data Mining
นิยามเหมืองข้อมูล 
(1) การสกัดความรู้ที่น่าสนใจจากข้อมูลปริมาณมาก
ความรู้(Knowledge)
-ไม่ปรากฎให้เห็นเด่นชัด
-บ่งบอกเป็นนัย
-ไม่ทราบมาก่อน
-มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์

 (2) กระบวนการในการหารูปแบบ (Hidden Pattern)
หรือหาความสัมพันธ์ (Hidden Relationship) ที่ซ่อนอยู่เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ
จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่

(3)
- อัตโนมัติ
- ข้อมูลที่ไม่รู้จัก
- เพิ่มคุณค่า


การประยุกต์ใช้งาน Data Mining
 แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่
1. การทำ Data Mining เพือการทำนาย
เป็นการนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้(Learning)ข้อมูลทีมีอยู่เพื่อทำนายข้อมูลใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2. การทำ Data mining เพื่อการอธิบาย
เป็นการค้นหารูปแบบที่น่าสนใจของกลุ่มข้อมูล  มักเป็นความสัมพันธ์หรือลักษณะการเชื่อมโยงของข้อมูล

"เพื่อการอธิบาย" จะต่างจาก "เพื่อการทำนาย"   ตรงไม่ได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะให้ Data Mining ค้นหารูปแบบอะไร
แต่ให้ค้นหาทุกรูปแบบที่น่าสนใจจากข้อมูล


โมเดลของ Data Mining
1. Association rule Discovery
เป็นการค้นหากฎความสัมพันธ์ของข้อมูล   โดยค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไป
วัดด้วยค่าสนับสนุน (Support) เป็นเปอร์เซ็นต์ของการดําเนินการที่กฎที่ใช้มีความถูกต้อง
และค่าความมั่นใจ (Confidence) เป็นจํานวนของกรณีที่กฎถูกต้องโดยสัมพันธ์กับจํานวนของกรณีที่กฎสามารถนําไปใช้ได้

2. Classification & Prediction
เป็นการจัดแบ่งประเภทของข้อมูล โดยหาชุดต้นแบบหรือชุดของการทํางานที่อธิบายและแบ่งประเภทข้อมูลได้
 วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้เป็นต้นแบบทํานายประเภทหรือข้อมูลที่ไม่มีการระบุประเภท
ชุดต้นแบบสร้างจากการวิเคราะห์  Training Data โดยอาจจะเป็นกลุ่มข้อมูลที่มีการระบุประเภทหรือกลุ่มเรียบร้อยแล้ว
รูปแบบของต้นแบบแสดงได้หลายแบบ  เช่น Classification Rules,
 Decision Trees หรือ  Neural Networks เป็นต้น

3. Database clustering หรือ Segmentation
 คือ การจัดกลุ่มข้อมูลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Classification
ต่างกันตรงจะเป็นการวิเคราะห์โดยไม่พิจารณาตามประเภทที่มี
แต่จะใช้ขั้นตอนเปรียบเทียบ  หาวัตถุที่มีความเหมือนกัน แล้วจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน

คลิปวิดีโอ Data Analysis  rsu.mooc


Data Mining มีจุดประสงค์ ทำนายอนาคต กับอธิบายปรากฎการณ์บางอย่าง
มี Pattren ที่สามารถ Perdict ทำนายได้
ยกตัวอย่าง
- Direct Marketing   
ทำการตลาดสื่อสารลูกค้าตรงๆ   Channel(ช่องทางสื่อสาร)ที่ดีที่สุดคือช่องทางที่ลูกค้าชอบ 
- Fraud Detection
ตรวจหาข้อมูลเท็จ  เช่น เคสบัตรเครดิตมีคนแอบเอาไปใช้  โดยมี pattern การใช้งานแตกต่างจากที่เจ้าของบัตรใช้งานประจำ

- Customer Attrition Churn
การคัดลูกค้า  เช่น หา pattern ลูกค้าคนที่กำลังจะเลิกใช้บริการของเรา

*** WEKA เป็น Open Source เครื่องมือในการทำเหมืองข้อมูล http://www.cs.waikato.ac.nz/ml/weka/

เนื้อหาต่อไป : Association Rule Discovery

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Business Intelligence

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP)

Business Intelligence(BI)   คือ Software ที่ใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดการเข้าถึงข้อมูล
เพื่อช่วยในการตัดสินใจเชิงธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ  โดยมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- Decision Support System (DSS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
- Query  การสืบค้นข้อมูล
- Reporting การจัดทำรายงาน
- OLAP  (Online Analytical Processing)
-  การวิเคราะห์สถิติ
- การพยากรณ์
- Data Mining 

Business Dashboard คือ เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน  ทั้งในระดับผู้บริหารระดับสูงจนไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติงาน


Business Analytics(BA)
 "Right Information at the right time and in the right place"
Analytic คือ การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ (วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ)
Business Analytic (BA) คือ หลักการกว้างๆ ของเทคนิคและการประยุกต์ใช้
เพื่อรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเข้าถึงข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์และดำเนินงานธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

Business Performance Management (BPM) คือ  การวัด เฝ้า ดู และบริหารประสิทธิภาพของธุรกิจ

The BMP Process
1. ออกแบบ  BMP Program (What,When,How)
2.  กำหนดมาตรฐานตัววัด 
3. เตรียมระบบเฝ้าดูประสิทธิภาพ
4. เตรียมระบบเพื่อใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพ   แนวโน้ม การกรเพื่อมไหว และเหตุผลต่างๆ
เปรียบเทีบประสิทธิภาพจริงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
5. Take Action

เนื้อหาต่อไป : Data Mining

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP)

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  การออกแบบและสร้างคลังข้อมูล

OLAP ย่อมาจาก Online Analytical Processing
นิยามทาง Software คือ เครื่องมือ ที่สามารถวิเคราะห์และเสนอข้อมูลในมิติต่างๆจาก Data Warehouse
มีคุณสมบัติเรียกดูข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  Queryใช้เวลาน้อย  มีการทำงานที่ไม่ขึ้นกับขนาดและความซับซ้อนของฐานข้อมูล
แอพพลิเคชั่น OLAP ถูกออกแบบให้ช่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ ,นำเสนอมุมมองเฉพาะ ,ย้อนหลัง
และคาดการณ์ข้อมูลในอนาคตตามโมเดล What if Analysis

OLAP ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับงานที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมากๆตลอดเวลา  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เข้ากันได้ดีกับ Data Warehouse
 เพราะธรรมชาติของ Data Warehouse นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลยกเว้นเหตุจำเป็น


OLAP Server  จะตั้งอยู่ระหว่าง Client กับ DBMS (Database Management system)
มีหน้าที่จัดรูปแบบนำเสนอรายงานและวิเคราะห์ฐานข้อมูล    โดยรายงานนั้นจะมีอยู่สองรูปแบบ
 - Routine Report คือ รายงานที่ทำเป็นประจำ  สร้างขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติแล้วกระจายส่งให้หน่วยงานต่างๆที่ใช้งานประจำ
 - Ad Hoc On Demand  คือ รายงานเฉพาะกิจ นานๆทำครั้งหนึ่ง   ทำตามผู้ใช้งานร้องขอ Ad Hoc Query
       การทำ Ad Hoc Query  จะใช้ SQL (Structure Query Language)


นิยามของ OLAP ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำรายงาน
นั้นจะหมายถึง กระบวนการวิเคราะห์แบบโต้ตอบและสำรวจในข้อมูลหลายมิติเพื่อค้นหารูปแบบที่น่าสนใจ
OLAP ประกอบไปด้วย 2 ส่วน  ได้แก่  ส่วนของข้อมูลกับส่วนที่ทำให้ผู้ใช้มองเห็นข้อมูลในลักษณะ Multidimensional
แยกออกมาได้ 3 ประเภท
1. MOLAP (M - Multidimensional) 
คือ DBMS ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลแบบ Dimensional โดยเฉพาะ
-  เก็บข้อมูลหลายมิติในลักษณะ Array
-  มี Index ในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- Data Warehouse สร้างโดยใช้แบบจำลองหลายมิติ โดยมองข้อมูลในลักษณะลูกบาศก์

2. ROLAP (R - Relational)
คือ DMBS ที่มี่ความสัมพันธ์ภายในมิติ  โดยใช้ Model โครงสร้าง   Star Schema
และหรือ Snowflake Schema (ย้อนกลับไปดูบทที่แล้ว การออกแบบและสร้างคลังข้อมูล)
-  ใช้ RDMBS (ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์) ในการเก็บและจัดการข้อมูลภายใน Data Warehouse
-  ใช้ OLAP Software ในการตอบคำถามที่ต้องการ
-  ใช้ SQL ในการเข้าถึงข้อมูล
-  สามารถใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ

3. HOLAP (H - Hybrid)
เป็นการผสมระหว่าง ROLAP (ใช้ในระดับล่าสุด) กับ MOLAP มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานสูง

เนื้อหาต่อไป : Business Intelligence

 



วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

Your Time Capsule จัด Playlist เพลงดักแก่

Spotify มีอะไรเด็ดๆมาให้เล่นอีกแล้ว   งานนี้ได้ดักแก่กันอย่างเมามันส์
ไม่รู้มีมาให้เล่นกี่วันแล้ว พอดีผมพึ่งเห็น  เข้าไปตาม Link นี้เลย  https://timecapsule.spotify.com/ 
ถ้าใช้แอพก็เข้าไปใน Browse > Decades > Your Time Capsule


Your Time Capsule  เป็น Playlist ที่จัดเพลงมาให้อัตโนมัติ โดยคำนวนจากอายุของผู้ใช้งาน ว่าในสมัยวัยสะรุ่นของผู้ใช้งานมีเพลงอะไรดังๆโดนๆบ้าง  เพลงแห่งความทรงจำ ฟังแล้วคิดถึงยุคนั้น

เท่าที่ลองใช้  มันก็โอเคจัดได้โดนใจจริงๆ   สำหรับคนฟังเพลงต่างประเทศเป็นหลักคงถูกใจ 
แต่คอเพลงไทยอาจจะขัดใจเล็กน้อย เพราะจัดเพลงไทยมาให้น้อยมาก  งานนี้ต้องเข้าใจ Spotify เขาหน่อย
พึ่งเข้ามาบ้านเรายังไม่ถึงปี  ฐานข้อมูลเพลงไทยยังไม่เข้าที่เข้าทางดีนัก

 เดาว่า Algorithm ที่ใช้ในการจัด Playlist  Your Time Capsule  น่าจะมีการแอบดู Playlist ส่วนตัว
หรือ History เพลงที่ฟังประจำของผู้ใช้งานด้วย  แล้วเอามาคำนวนเทียบปีเอา
ถ้าหักลบคำนวนแล้วเป็นเพลงเก่าออกวางจำหน่ายตรงช่วงที่ผู้ใช้งานเป็นเด็กหรือวัยรุ่นพอดี ก็จับมาลง Playlist ด้วย
อาจจะมีการวิเคราะห์ต่อไป ว่าเพลงนั้นเป็น Genre แนวอะไร  เช่น ถ้าส่วนใหญ่เป็นแนว Rock 
ก็มีความเป็นไปได้ว่าผู้ใช้งานสมัยวัยรุ่นเป็นขา Rock   เมื่อได้ผลวิเคราะห์ตามนี้ ก็ดึงเพลง Rock ดังๆสมัยนั้น
มาผสมโรงลง Playlist ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความถูกใจให้ผู้ใช้งาน
ย้ำว่าเป็นการเดา คิดทึกทักจินตนาการเอาเองนะครับ   Spotify อาจไม่ได้ทำแบบนี้ก็ได้

พิจารณาจาก Your Time Capsule ของตัวเอง  ยอมรับว่าจัดมาได้ถูกต้องเกิน 80%
จริงๆแล้ว ใน Spotify  ผมเปิดเพลงต่างประเทศแนว Jazz กับ Country บ่อยมาก
 เพลงแนวนี้เปิดฟังได้ตลอดเวลาทั้งตอนทำงาน ทั้งตอนพักผ่อน ฟังเพลินดีครับ 
ส่วนเพลงไทยแทบไม่ค่อยได้ฟัง เพลง Rock ก็ฟังเรื่อยๆแต่ไม่ถี่เท่า Jazz
รู้สึกทึ่งนิดหน่อยที่ Your Time Capsule ของผมนี่หนักไปทาง Rock     ส่วน Jazz ไม่มีโผล่สักกะเพลง
คงคำนวนช่วงอายุผมและทำการวิเคราะห์ไปแล้วล่ะ  Jazz น่าจะมาชอบฟังตอนโตเป็นผู้ใหญ่ ยุคนั้นฟังแต่ Rock ตามประสาวัยรุ่น

ยกตัวอย่าง  15 อันดับแรกใน Your Time Capsule ของผมมาแปะให้ดู  โอ้โฮ !!!! รู้จักหมดทุกเพลงเลย
 แต่ 15 อันดับหลังที่ไม่ได้แปะข้อมูลมาให้ด้วย  มีบางเพลงไม่รู้จัก แต่เคยได้ยินผ่านหูอยู่



Fast Car นี่น่าจะมาจากเหตุการณ์ มันติดอยู่ในหูมาสองเดือน  เลยกลายเป็น History บันทึกเพลงเก่าที่ผมชอบไปโดยปริยาย
ถ้าไม่มีเหตุการณ์นั้น Fast Car อาจไม่ติด เพราะดูๆแล้วไม่มีอะไรเชื่อมโยงไปถึงเพลงนี้ได้เลย


แปลกใจนิดหน่อยที่เพลงของ Bon Jovi ติดเยอะกว่าศิลปินวงอื่น  ชอบนะ ไม่ใช่ไม่ชอบ  เพลงที่เลือกมาให้ก็ถูกใจ คลาสสิคมากๆ
 คือถ้านับตามฟฤติกรรมความคุ้นเคยส่วนตัว  ในบรรดาเพลง Rock  ทุกวงทุกศิลปินที่โผล่ใน Playlistนี้
 ผมเปิด Oasis ฟังถี่สุดแล้วล่ะ แต่ไหงติดแค่เพลงเดียวเองหว่า !!?
แต่โอเคที่ Wonder wall  ติด มันเป็นเพลงที่ชอบมากที่สุดของ Oasis แล้วล่ะ  สมัยวัยรุ่นฟังจนเทปยืด



จากใน Playlist นี้จะเห็นได้ว่ามีเพลงไทยอยู่ 4 เพลง  สองเพลงแรกถูกต้องโดนใจ  เป็นเพลงสมัยวัยรุ่นและเป็นเพลงโปรดด้วย 
แต่สองเพลงหลังนี่ควรเรียกว่าเพลงในวัยเด็กมากกว่า

Your Time Capsule ก็เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่น่าสนใจของ Spotify ลองเข้าไปเล่นดู
คุณอาจจะเจอเพลงเก่าที่ฟังแล้วชวนให้คิดถึงความทรงจำอันหอมหวาน



[บันทึกความรู้] การออกแบบและสร้างคลังข้อมูล

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)
เนื้อหาก่อนหน้านี้ :  คลังข้อมูล (Data Warehouse) คืออะไร

หลักการออกแบบคลังข้อมูลแบบ Star Schema และ Snowflake Schema
การออกแบบ Data Warehouse จะใช้ Dimensional Model  ในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบฐานข้อมูล  จะทำในลักษณะของลูกบาศก์ (Cube) โดยจะเป็นรูปลูกบาศก์ที่มีมุมมองหลากหลาย ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ Dimension Table (ตารางแกนมิติ) กับ Measure (ค่าที่ต้องการวัด )

Dimensional Model เป็นการทำให้ฐานข้อมูลดูง่ายขึ้นต่อการทำความเข้าใจ
โดยมองภาพฐานข้อมูลเป็นลูกบาศก์ ซึ่งจะมีกี่มิติก็ได้    แต่ต้องสามารถหั่นแบ่งออกมาเป็นลูกเต๋า
ตัดข้อมูลช่วงใดช่วงหนึ่งมาวิเคราะห์และหมุนดูทุกด้านของลูกเต๋าได้
ยกตัวอย่าง เช่น   ขายสินค้า(Product) ในหลายๆที่ (Market) ในช่วงเวลาต่างกัน (Time)
เราจะใช้ Dimensional Model ออกแบบ โดยเป็นลูกบาศก์ 3 มิติของ Product,Market,Time
 แต่ละจุดภายในที่เกิดจากการตัดของ 3 มิตินี้    นั่นก็คือผลลัพธ์ทางธุรกิจ เมื่อพิจารณาจาก   Product,Market,Time พร้อมกัน

1. Star Schema (โครงสร้างแบบดาว)
Star Schema เป็น Dimensional Model ที่มีรูปร่าง Diagram คล้ายรูปดาว
ประกอบไปด้วยตารางหลักที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า Fact Table(ตารางค่าที่แท้จริง)  เป็นศูนย์รวมข้อมูล
และรายล้อมไปด้วยตารางที่เรียกว่า Dimensional Table (ตารางแกนมิติ)
ซึ่งจะมีกี่ตารางก็ได้   แต่ในแต่ละตารางนั้นต้องมี Key ที่สัมพันธ์ไปยัง Fact Table ตารางเดียวเท่านั้น
สัมพันธ์กันแบบ Single Join และจะไม่สัมพันธ์กับ Dimensional Table อื่นๆ 
ดังนั้น Fact Table จึงเป็นตารางเดียวที่มี Multiple Join


โดรงสร้างแบบ Star Schema  ข้อมูลจะเป็นแบบ Denomalized  และเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างตารางไม่ซ้บซ้อน   ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

2. Snowflake Schema (โครงสร้างแบบเกล็ดหิมะ )
แตกต่างจาก Star Schema ตรง Dimension Table มีหลายระดับ และระหว่าง Dimension Table มี Key ที่เชื่อมโยงกัน

 
ดังนั้นโครงสร้างแบบนี้จะซับซ้อนมาก สืบค้นยาก  ลักษณะของข้อมูลมีความเป็น Normalized


 Fact Table (ตารางค่าที่แท้จริง)
เป็นตารางหลักเก็บข้อมูลที่ต้องการนำมาวิเคราะห์  โดยปกติข้อมูลในตารางนี้จะไม่มีการแก้ไข ยกเว้นกรณีเพิ่มข้อมูลใหม่
ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน fact table เรียกว่า grain of fact table
แต่ละ Record ของ Fact Table  เป็นการสรุปรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกิดจาก Intersection ของทุกๆ Dimensions

Dimension Table (ตารางแกนมิติ) 
- เก็บคำอธิบายของแต่ละ Dimension  อธิบายทุกๆสมาชิกใน Table ว่าประกอบด้วย Attributes อะไรบ้าง
Attributes ที่ดีต้องเป็นตัวอักษร และต้องแยกออกจากกัน
-  เก็บความหมายของรหัสที่ใช้ในค่าที่ต้องการวัด (Measure)  เช่น  ตารางที่ไว้เก็บรหัสสินค้ารายละเอียดสินค้า   เป็นต้น

เนื้อหาต่อไป :   การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP)

[บันทึกความรู้] คลังข้อมูล (Data Warehouse) คืออะไร

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ RSU-MOOC: rsu001 ฉลาดด้วยข้อมูล ใครๆ ก็ทำได้ (คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล)

คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือ  ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล  ข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลจะถูกเลือกมาเป็นอย่างดี  ซึ่งเก็บรวบรวมจากข้อมูลประจำวัน( Operational Databases) และฐานข้อมูลภายนอกองค์กร (External Databases)  โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้งานเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของของผู้บริหาร
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเรียกว่า ข้อมูลกลยุทธ์ (Strategic Information)  ข้อมูลกลยุทธ์มักมีการรวมศูนย์ มีความถูกต้องแม่นยำ และมีรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้บริหาร

คลังข้อมูลจะมีมุมมองเชิงลึกในมิติต่างๆ ที่ฐานข้อมูลปกติทั่วไปไม่สามารถทำงานได้
เช่น   สรุปยอดขายในแต่ละเดือนของทุกสาขา แสดงรายละเอียดว่าแต่ละสาขามีสินค้าอะไรขายดีและขายดีช่วงไหนของเดือน
จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามิติสถานที่ (สาขา)   มิติผลิตภัณฑ์(สินค้าขายดี)  มิติเวลา (ช่วงไหนของเดือน) เป็นต้น

คลังข้อมูลต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร ?
ฐานข้อมูลเป็นการประมวลผลประจำวัน  มีระยะเวลาจัดเก็บไม่ยาวนานนัก
ส่วนคลังข้อมูลคือฐานข้อมูลที่เก็บจากอดีตมาปัจจุบัน มีลักษณะประมวลแกนเวลาเป็นจำนวนหลายปี
(โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3-5 ปี  เกินกว่านั้นต้องทำ Archive หรือเก็บไว้ที่อื่น)



จากภาพตัวอย่าง จะเห็นมีมิติสามด้าน สินค้า เวลา จังหวัด รูปแบบการเก็บนี้เรียกว่า Multi Dimensional Data Model
โดยรูปแบบนี้ สามารถเพิ่มมิติกี่ด้านก็ได้ แล้วแต่มุมมองที่จะนำไปใช้งาน


 คุณสมบัติของคลังข้อมูล (Data Warehouse)
1. Subject Oriented (ตามหัวข้อเรื่องที่ต้องการ)
ข้อมูลในคลังข้อมูลจะเลือกเก็บแต่ข้อมูลที่สามารถมาใช้ในเชิงวิเคราะห์หรือตัดสินใจ
 มากกกว่าเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถามรายละเอียดปลีกย่อย
ยกตัวอย่าง ถ้าจุดประสงค์ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย    คลังข้อมูลจะถูกออกแบบสร้างให้เน้นแต่เรื่องยอดขาย
เมื่อมีคำถามที่เกี่ยวกับยอดขายก็จะสามารถตอบคำถามนั้นได้ทันที  เช่น  ใครเป็นลูกค้าที่ยอดซื้อสูงสุด
 สินค้าประเภทนี้มียอดขายเท่าไร   และนั่นคือคุณสมบัติ Subject Oriented ของคลังข้อมูล

2. Integrated (หลอมรวมข้อมูล)
 การที่จะใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบคำถาม บางครั้งต้องรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่ง
โดยเหตุจากที่มาที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดปัญหาความไม่ถูกต้อง ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
คลังข้อมูลที่ดีต้องสามารจัดการปัญหาเหล่านั้น  นำข้อมูลมาสร้างความสอดคล้องเพื่อแสดงข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ผู้ใช้งาน

3. Time-variant (ความสัมพันธ์แกนเวลา )
ลักษณะข้อมูลในคลังข้อมูลจะเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ (Historical Data)
เก็บจากอดีตถึงปัจจุบันย้อนหลังเป็นเวลาหลายปี   ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบหาแนวโน้มของข้อมูล

4. Non-volatile (ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ )
ข้อมูลในคลังข้อมูลจะไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกหลังจากที่ถูกโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว
เว้นแต่ในกรณีที่ข้อมูลที่โหลดเข้าไปนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง


รูปแบบการวิเคราะห์คลังข้อมูล
มิติ (Dimension) คือ มุมมองข้อมูล   โดยธรรมชาติของข้อมูลในทางธุรกิจมีลักษณะเป็นหลายมิติ (Multidimensional)
เช่น  มิติของข้อมูลยอดขาย ก็จะประกอบไปด้วย  สินค้า เวลา และสถานที่จำหน่ายสินค้า เป็นต้น
มิติจะมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น (Hierarchy) เช่น  มิติเวลาไล่ลำดับขั้นจากล่างไปบนสุดมี  ชั่วโมง ,วัน, สัปดาห์,เดือน,ปี

การวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติจะประกอบไปด้วย 7 รูปแบบ
1.  Drill-Down การวิเคราะห์ข้อมูลโดยดูจากข้อมูลในลำดับขั้นจากระดับบนแล้วซอยย่อยมาระดับล่างไล่ลงไป

2.  Roll up ตรงข้ามกับ Drill-Down โดยเริ่มดูข้อมูลจากส่วนรายละเอียดระดับล่างก่อนแล้วค่อยไปดูระดับบน
เป็นวิธีการสรุปภาพรวมของข้อมูล ลดจำนวนมิติลง

3. Slice  การมองข้อมูลเฉพาะส่วน  เช่น การดูยอดขายของสินค้าทั่งหมดต่อเดือนใดเดือนหนึ่ง

4. Dice การมองข้อมูลหลายมุม โดยหมุนไปทีละมุม เช่น  การดูยอดขายของสินค้าทั่งหมดต่อเดือนโดยไล่ไปทีละเดือนจากเดือนแรกไปเดือนสุดท้าย

5. Pivot or Rotate  การเปลี่ยนมุมมอง   คือวิธีการสลับแกนการแสดงลูกบาศก์สามมิติ  การมองลูกบาศก์สามมิติโดยใช้ตารางสองมิติ
ยกตัวอย่าง  การนำเสนอโดยหมุนแกนในรูปแบบ Pivot Table
 

6. Drill Across  เป็นการเจาะลงที่ใช้มากกว่าหนึ่งตารางข้อมูลจริง

7. Drill Through  เป็นการเจาะลงไปในระดับที่ต่ำกว่าลูกบาศก์ขั้นต่ำที่สุด โดยส่งไปยังฐานข้อมูลที่เป็นที่มาของข้อมูล

เนื้อหาต่อไป :  การออกแบบและสร้างคลังข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] การตลาดในศตวรรษที่ 21

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ของ https://mooc.chula.ac.th/

ตลาด คือ กลุ่มผู้ซื้อ  ซึ่งผู้ซื้อสินค้านั้นรวมถึงผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าในอนาคตด้วย
เช่น ตลาดนมผงเด็ก   ผู้ซื้อคือครอบครัวที่มีลูกอ่อน  รวมทั้งสามีภรรยาผู้วางแผนจะมีบุตร
Market is The set of actual & potential buyers of a product or services.
การตลาด คือ การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
Marketing is Satisfying Customer Need.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความต้องการของผู้บริโภค 

Maslow กล่าวไว้ Needs ของมนุ๋ษย์นั้นมี 5 ขั้น เมื่อได้รับการตอบสนองขั้นหนึ่ง ก็จะเพิ่มความต้องการไปอีกขั้นหนึ่ง


Maslow's Hierarchy of Needs
1. Physiological Needs ความต้องการทางกายภาพ  เช่น ความหิว ความกระหาย
2. Safety Needs  ความต้องการความปลอดภัย เช่น  บ้านที่อยู่อาศัย
3. Social Needs ความต้องการทางด้านสังคม เช่น  เพื่อน ครอบครัว   คนรัก
4. Esteem Needs ความต้องการภูมิใจ มั่นใจในตัวเอง  ได้รับการยอมรับมีสถานะในสังคม 
5. Self Actualization Needs ความต้องการพัฒนาตนเอง   เราเป็นใคร เกิดมาเพื่ออะไร ทำอะไรได้บ้าง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5 Concepts in Marketing 

1. Production Concept 
เกิดจากแนวคิดที่เชื่อว่าผู้บริโภคอยากได้สินค้าราคาถูก ดังนั้นจึงไปเน้นที่วิธีการผลิต
พยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากที่สุดและประหยัดต้นทุนที่สุด
เพื่อให้สามารถจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกลง

2. Product Concept
ผู้บริโภคอยากได้สินค้าที่ดีที่สุด   การตลาดนี้จึงเน้นที่ตัวสินค้า  พยายามเพิ่มประสิทธิภาพข้อดีข้อเด่นของสินค้า 

3. Selling Concept
มาจากแนวคิดที่ว่ายิ่งขายได้เยอะกำไรก็จะเยอะตาม   โดยเชื่อว่ามนุษย์มี needsไม่จำกัด 
ดังนั้นจึงเน้นวิธีการขาย พยายามสร้างแรงกระตุ้นจูงใจให้อยากซื้อสินค้า เช่น  ลดแหลกแจกแถม,  ซื้อ 1 แถม 1

Starting Point : Factory  โรงงานผลิตอะไรได้บ้าง
Focus : Existing Products  สินค้ามีอะไร 
Means : Selling & Promoting ทำการขาย จัดโปรโมชั่นลดแหลกแจกแถม
Ends : Profits through sales volume   ขายมากได้กำไรมาก

4. Marketing Concept
เน้นที่ Customer Needs ผู้บริโภคต้องการอะไร

  Marketing Mix (4P)
  - Product  สินค้าอะไรที่ลูกค้าต้องการ
  - Price  ตั้งราคาที่ลูกค้าสามารถซื้อได้
  - Place  สถานที่ที่ลูกค้าสามารถซื้อสินค้านั้นได้สะดวก
  - Promotion ส่งเสริมการตลาด  สื่อสารกับลูกค้า

Starting Point : Market  ผู้ซื้อ
Focus : Customer Needs   ลูกค้าต้องการอะไร
Means : Integrated Maketting  การตลาดแบบบูรณาการ  หลัก 4P
Ends :Profits through customer satisfaction กำไรมาจากความพึงพอใจของลูกค้า

5. Societal Marketing Concept
การตลาดเพื่อสังคม
Consumer ผู้บริโภคอยากได้อะไร 
Company  บริษัทได้กำไร
Society  สังคมมีความสุข
CSR (Corporate Social Responsibility)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Holistic Marketing  
การตลาดศตวรรษที่ 21 จะเป็นการตลาดองค์รวม  จะมีอยู่ 4 องค์ประกอบ

1. Integrated Marketing การตลาดแบบบูรณาการ  Product,Price,Place,Promotion

2. Relationship Marketing การตลาดเชิงความสัมพันธ์ 
นักการตลาดต้องสร้างความสัมพันธ์ต่อ 3 กลุ่มดังต่อไป
 - Customer ลูกค้า
      ทำ Customer Relationship Management (CRM)
      สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้า  เช่น บัตรคูปองสะสมแต้ม
 - Channel สร้างความสัมพันธ์กับช่องทางการค้า   เช่น  ร้านไหนทำยอดขายถึงเป้าจะมีรางวัลให้
 - Partner สร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า  เช่น จ่ายเงินตรงเวลา

3. Internal Marketing  การตลาดภายใน
The task of hiring , training and motivating able employees who want to serve  customers well.
การฝึกอบรมพนักงาน เพิ่มทักษะ  สร้างความสุขในการทำงาน 
เพื่อที่จะพนักงานจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

4. Socially Responsible Marketing  การทำการตลาดรับผิดชอบสังคม
- Community ทำกิจกรรมดีๆให้สังคม
- Legal   ถูกต้องตามกฎหมาย
- Ethics   มีจริยธรรม
- Environment รักษาสิ่งแวดล้อม

Type of Activities
- Corporate Philanthropy   บริจาคเงินให้กิจกรรมการกุศล
- Corporate Community Involvement  เข้าไปช่วยเหลือในชุมชน เช่น กิจกรรมปลูกป่า ขุดคลอง
- Cause Marketing แก้ปัญหาสังคม  เช่น   Case Study Pink Ribbon ต่อต้านมะเร็งเต้านม
- Social Entrepreneurship ธุรกิจเพื่อสังคม   เช่น ธนาคารคนจน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Marketing Tends

- Beyond Functional Value 
แต่เดิมจะคิดแค่ว่าสินค้านั้นมีคุณค่าอย่างไร เช่น น้ำดื่ม ดื่มเพื่อดับกระหาย
แต่ต้องเพิ่มคุณค่าที่ลึกกว่านี้ เช่น น้ำดื่ม ดื่มแล้วดูดี  ถือเป็น Emotional Value

ยกตัวอย่างจากสโลแกนของ Coke
1886 Drink Coca Cola - Selling
1923 Enjoy Thirst   - Functional Value
1986 Classic Coke  - Functional Value
2006 The Coke:Side of Life - Functional Value
2009 Open Happiness - Emotional Value

- Beyond Simple Sales Data
การใช้ Big Data เพื่อมาวิเคราะห์แผนการตลาด     ช่วงเวลาไหน มีลูกค้าประเภทไหนมา ซื้อสินค้าอะไร  มีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร

- Beyond 1-way communication
สร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัท พยายามทำให้ลูกค้ามีส่วนรวมในแคมเปญ 
  เช่น  Doraemon STAND BY ME 3D coloring book AR Glico bisco





วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

แนะนำซีรีย์ฝรั่งน่าสนใจประจำปี 2017

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบดูซีรีย์ฝรั่ง ชอบแบบเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆต่อกันมากกว่าจบเป็นตอน
ดูได้ทุกแนว ไม่จะเป็นดราม่า อาชญากรรรม การเมือง สยองขวัญ ลึกลับ ตลก โหด หื่น  ไซไฟ แฟนตาซี ฯลฯ
ดูได้หมด   หากเจอซีรีย์ดีๆ ทีมงานมืออาชีพ  นักแสดงเล่นเต็มที่สมบทบาท และข้อสำคัญสุดมีเนื้อหาน่าติดตาม
ก็พร้อมเต็มใจทำตัวขี้เกียจ ล้มตัวลงนอนเอกเขนกหมกอยู่หน้าทีวี ยอมเสียเวลาเป็นวันๆเพียงเพราะอยากรู้จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
สมัยร่างกายยังฟิตและมีเวลาว่างเหลือเฟือ  ผมสามารถนั่งดูมาราธอนอัดยาวรวดเดียวสิบกว่าตอน  แต่เดี๋ยวนี้แค่สามตอนก็ไม่ไหวแล้ว

ปีนี้ถ้าไม่นับซีรีย์ที่ตามดูมานาน ออกซีซั่นใหม่ทำออกมาถูกใจไม่ถูกใจยังไงก็ต้องดู  จนเป็นหน้าที่ประจำปีไปแล้ว อาทิ เช่น
Game of Thrones , The Walking Dead , American Horror Story

พวกซีรีย์หน้าใหม่ ทดลองดูน้อยมาก ส่วนใหญ่สอบตกตั้งแต่ Pilot ตอนแรก  ปีนี้เห็นจะมีสอบผ่านอยู่สองเรื่อง   เรื่องแรก...



 Designated Survivor    จริงๆเริ่มฉายตั้งแต่กันยายนปีที่แล้วมาจบซีซั่น 1ที่กลางปีนี้   ปลายเดือนกันยายนปีนี้ก็เริ่มซีซั่น 2 พอดี
เรื่องนี้ดูเพราะพล็อทเรื่องและบทบาทใหม่ของ  Kiefer Sutherland  ชื่อนี้หลายคนที่เป็นคอซีรีย์แอคชั่น  
คงคุ้นเคยกันดีกับบทบาท Jack Bauer แห่ง 24   แต่เรื่องนี้แกไม่บู๊ครับ  
แกเล่นเป็นรัฐมนตรีตัวเล็กๆในรัฐบาล  เผอิญโชคดีรอดตายจากเหตุวินาศกรรมวางระเบิดรัฐสภา คนใหญ่คนโตในรัฐบาลตายหมด  
พอมาไล่ลำดับชั้นแล้ว แกมีสิทธิ์มากที่สุดที่จะได้เป็นประธานาธิบดีตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา

กฎหมายเขาเป็นอย่างนั้นครับ ถ้าประธานาธิบดีตายหรือมีเหตุให้ออกจากตำแหน่ง  รองประธานาธิบดีจะขึ้นมาแทน  ถ้ารองมีเหตุขัดข้อง  ก็จะเลื่อนให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ไล่ไปเรื่อยๆจากคนในคณะรัฐบาล

กรณีลุง Kiefer นี่โคตรฟลุ๊คสุดๆเพราะเป็นรัฐมนตรีการเคหะ ตำแหน่งเล็กมาก  เหตุที่รอดตายเพราะแกไม่ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานประชุมใหญ่ที่รัฐสภา ทุกคนได้ไปหมด แต่แกไม่ได้ไปเพราะประธานาธิบดีคนก่อนไม่ค่อยปลื้มแก  สถานะเตรียมจะโดนปลดออกจากตำแหน่งหลังจบงานประชุม

เนื้อเรื่องดำเนินได้น่าสนใจ ไหนจะประเด็นว่าใครเป็นคนวางแผนระเบิดรัฐสภา  การที่ลุงแกได้ประธานาธิบดีเพราะโชคช่วย หรือมีใครวางหมากไว้     ไหนจะภาระบริหารประเทศและเกมการเมืองที่ต้องเฉือนคม


เรื่องที่สอง...



American Gods   คิดแล้วก็ตลกตัวเองเหมือนกัน   ผมเห็น AD โฆษณาภาพนี้หลายครั้งอยู่    ก็ไม่ได้สนใจไม่รู้ที่มาที่ไปของซีรีย์เรื่องนี้  คิดไปเองโดยพิจารณาจากภาพว่ามันคงเป็นแนวดราม่าชีวิต ความเชื่อ ความศรัทธา การเดินทางค้นหาตัวเอง
 ซึ่งหนังมันก็มีองค์ประกอบเนื้อหาพวกนี้ครบหมดนะ แต่ผิดจากที่คิดไปเยอะมากกกกกกกก

พล็อทเรื่องย่อก็ไม่ได้อ่านนะ อยู่ๆเข้าไปดูตอนแรกเลย  เห็นว่าโฆษณาโปรโมทบ่อย  ก็น่าจะโอเคในระดับหนึ่ง
เปิดมาตอนแรก  เอาแค่ไตเติ้ล  เฮ้ย!!! เพลงไม่ธรรมดาแหะ สงสัยเรื่องนี้จะมีของ
Brian Reitzell - "Main Title Theme" (American Gods Original Series Soundtrack)
แล้วก็มีของจริงๆด้วย   เล่าเรื่องได้ถูกจริตผมมาก

American Gods  เรื่องย่อ Shadow Moon อดีตนักโทษติดคุกคดีฉ้อโกงเดินทางกลับบ้าน
ไปงานศพเมียที่พึ่งตาย  ตายก่อนวันเขาได้รับอิสรภาพแค่ไม่กี่วัน
ระหว่างเดินทางเขาได้เจอลุงท่าทางแปลกๆ เรียกตัวเองว่า "นายวันพุธ" (Mr. Wednesday)
ไม่รู้นึกไงอยู่ดีๆลุงวันพุธพยายามชักชวนเขามาทำงาน   และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางผจญภัยอันแสนพิลึกพิลั่น

วิธีดำเนินเรื่องของ American Gods  ค่อนข้างติสท์แตก งานภาพแปลกดี สื่อสัญลักษณ์เยอะ
ไม่เล่าตรงๆ ให้คนดูทำการบ้านไปเรื่อยๆ ปะติดปะต่อเอาเอง
ซึ่งประเด็นหลักของเรื่องก็คือ เทพเจ้าโลกเก่ากับโลกใหม่ตีกันในยุคปัจจุบัน พลังอำนาจของเทพขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้คน
โดยส่วนตัวพล็อทเรื่องแนวนี้ผมเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกหวือหวาแปลกใหม่อะไร อาจเพราะสนใจแนวนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เสพย์มาเยอะ

ถ้าเป็นคนชอบแนวตำนานปรัมปราเทพเจ้า  รับรองว่าเพลิน คนแต่งเรื่อง คนเขียนบท ผู้กำกับ ทีมงานทำการบ้านมาดีมาก
สำหรับเรื่องนี้นะ ฉากแต่ละฉากอะไรที่ใส่เข้ามา ไม่ได้เล่าเท่ๆ  มันมีเหตุผลอยู่ พอมาสรุปรวมกัน เออ เจ๋งดีแหะ
ผมเดาตัวจริงของลุงวันพุธ ได้ประมาณกลางเรื่อง    พอปิดซีซั่น 1  ลุงเฉลยตัวจริงปั๊บ  ร้องเฮลั่นบ้านเลย เดาถูก!!!!

แต่ข้อเสีย American Gods ก็มี บางช่วงอืดอาดยืดยาดชวนหลับเกินไปหน่อย แถมมีดราม่าผัวเมียอีก
เฮ้อ..  มีแค่ 8 ตอนอย่าใช้ให้มันเปลืองนักสิ
ดูจบแล้วไปนั่งไล่อ่านในกระทู้ ดูคลิปถกทฤษฎีต่างๆ  เห็นเขาว่าซีรีย์ปรับปรุงบทให้ดีขึ้น ในนิยายอืดกว่านี้อีก  
ห่ะ!!! นี่ขนาดปรับบทแล้วเหรอเนี่ย!!!!






วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ต้องบริโภคข้อมูลซ้ำสองครั้งถึงเข้าใจ

เก็บงำความสงสัยมานาน ทำไม Get Out ถึงได้รับคำชมและคะแนนวิจารณ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก มากจนผิดสังเกต
หรือเพราะตอนนี้กระแสเรื่องเหยียดผิวมาแรง  โดยดูจาก Trailer ตัวอย่างหนัง ก็แลชวนให้คิดว่ามีประเด็นนี้มาเกี่ยวข้องแน่ๆ



ผมดูจนจบ ดูแบบไม่ค่อยตั้งใจ ก็เข้าใจนะว่าหนังต้องการสื่ออะไร  มันเป็นหนังสยองขวัญที่มีการเสียดสีสังคมผสมไปด้วย
แต่พล็อทเรื่องแค่นี้กับประเด็นที่เล่น มันไม่น่าสร้างแรงจูงใจให้คนสนใจจนเป็นกระแส  ถ้าผู้กำกับโด่งดังมาก่อนก็ว่าไปอย่าง

ด้วยความคาใจ ผมจึงตัดสินใจดูซ้ำรอบสอง เนื่องจากรู้เนื้อเรื่องหมดแล้ว ครั้งนี้เลยดูแบบตั้งใจ
พอสังเกตองค์ประกอบฉาก คำพูด การกระทำของตัวละคร  เอ๊ย!!!! ผู้กำกับทำงานละเอียดมากๆ เข้าใจแล้วทำไมถึงชมกัน

ผมว่า Get Out เป็นหนังที่ควรดูสองรอบเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ใช่ว่าเพราะหนังมันดูยาก  หนังดูง่ายครับ ดูรอบเดียวก็เข้าใจหมด
ต่อให้พ่วงด้วยสัญลักษณ์แอบแฝง สามารถจับประเด็นมาตีความได้ไม่ยากในการดูรอบเดียว
แต่การดูรอบสองมันเหมือนเป็นการเค้นอรรถรสที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้ออกมา คุณจะเห็นอะไรเพิ่มเติมมองกว้างขึ้นไปอีก
ใครยังไม่ได้ดู  Get Out  หากมีโอกาสได้ดูแนะนำให้ดูสองรอบครับ ✌

ก็ไม่ได้มาวิเคราะห์หนัง  หนังฉายมาพักใหญ่แล้ว มีบทวิเคราะห์ออกมามากมายหาอ่านง่าย ให้ผมเขียนคงออกมาคล้ายกับของคนอื่น
เผอิญติดใจตรงที่ว่าต้องดูสองรอบ  ต้องบริโภคข้อมูลซ้ำสองครั้งถึงเข้าใจ  เพราะในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารมาไวไปไวเข้าถึงได้ง่าย
ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันรีบเร่งขึ้นจากสมัยก่อน จำเป็นต้องหมุนตามโลกให้ทัน
การบริโภคข้อมูลจึงมักเป็นไปอย่างฉาบฉวย   โดยเน้นข้อมูลกระทัดรัด ย่อยง่าย ใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจ
การบริโภคข้อมูลชุดเดิมซ้ำมากกว่าหนึ่งรอบ   ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นหลายคนก็คงไม่อยากทำซ้ำนัก เพราะเสียเวลาโดยใช่เหตุ

ความบันเทิงดูจะเป็นข้อมูลประเภทเดียวที่หลายคนยินดีบริโภคซ้ำแล้วซ้ำอีก  ไม่ว่าจะเป็นหนัง เพลง เกม หรือความบันเทิงรูปแบบอื่นๆ
แต่ข้อมูลประเภทอื่น บางครั้งมันก็ต้องการบริโภคซ้ำเพื่อเพิ่มความเข้าใจ เข้าถึงเชิงลึกในตัวมัน  ซึ่งมันไม่ง่ายเหมือนดูหนังซ้ำ

เป็นเรื่องลำบากในการนำเสนอข้อมูลยากๆให้คนสนใจจนอยากบริโภคซ้ำ เพิ่มความเข้าใจในเนื้อหา
ครั้นจะย่นย่อให้เข้าใจง่ายสุดก็ไม่ได้ใจความครบถ้วน ได้แค่เปลือกนอก ซึ่งคนส่วนใหญ่มันจะจบแค่ตรงนั้น ไม่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
พอบรรยายละเอียดยิบร่ายยาว   คนก็เมินหน้าหนีพาลขี้เกียจรับรู้ เลิกสนใจเสียดื้อๆตั้งแต่ต้น
สุดท้ายก็คงได้แค่ปล่อยไปตามความสนใจใคร่รู้ของใครของมัน ☺

เครดิตรูปภาพประกอบ :  pixabay

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Spotify จัด Playlist เพลงโดนใจ

ณ วันนี้  Spotify  ได้เปิดให้บริการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว   หลายคนคงได้ลองเข้าไปใช้งานกันบ้างไม่น้อย
อันที่จริงบริการฟังเพลงออนไลน์มีหลายเจ้าและทำกันมานานแล้วด้วย   แต่เหตุที่ Spotify เด่นกว่าจนเป็นที่หนึ่งในวงการ
คงเพราะมีเพลงเยอะมากสามารถตอบโจทย์รสนิยมการฟังได้หลากหลาย   รวมทั้งมีการทำงานที่สเถียร ไม่สะดุดอารมณ์นักฟังเพลง



และข้อสำคัญสุด ในมุมมองของผมนะ Spotify มีเงื่อนไขการให้บริการที่ถือว่าแฟร์กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะฟรีหรือเสียค่าบริการ
หากคุณเสียค่าบริการ ก็จะได้สิทธิ์จัด Playlist เพลงเอง เลือกเพลงเล่นได้ รวมทั้งสามารถ Download ไปฟังแบบ Offline ได้ด้วย
แต่ถ้าฟรี คุณฟังทุกเพลงได้แต่เลือกเพลงไม่ได้ เล่นได้แต่แบบสุ่มในPlaylist ที่เขาจัดมาให้  และมีโฆษณาแทรกเป็นระยะ
แบบฟรีของ Spotify  มันคล้ายๆเราเปิดวิทยุหมุนคลื่นไปเจอรายการเพลงที่เปิดแต่เพลงอย่างเดียวโดยไม่มีดีเจมาพูดแทรก

สมัยเด็กๆวัยรุ่นๆ ถ้าวันไหนเปิดวิทยุหมุนคลื่นไปเจอช่องเปิดแต่เพลงไม่มีดีเจ จะรู้สึกชอบมาก อัดเพลงเพลินเลย

Playlist แบบฟรีที่ Spotify เตรียมมาให้จัดว่าเด็ดดวง แต่ละเพลงฟังแล้วจะถูกใจหรือไม่ถูกใจ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในธีมที่เราอยากฟัง
เป็นการเปิดโอกาสได้ฟังเพลงที่ไม่เคยฟังมาก่อน  คุณอาจได้เพลงโปรดเพลงใหม่และศิลปินในดวงใจเพิ่มขึ้นก็เป็นไปได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าคุณจะใช้งาน Spotify  แบบเสียค่าบริการหรือแบบฟรี  สบายใจได้เลยเพราะทั้งหมดนี้เป็นการฟังที่ถูกลิขสิทธิ์
เป็นข้อดีที่อยากแนะนำให้มาใช้งาน Spotify กันเยอะๆ หากใครสนใจอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ตามไปที่  Spotify ได้เลยครับ

โดยส่วนตัวผมติดใจ Playlist ของ Spotify มาก  จัดเพลงได้ลงตัวสามารถตอบสนองรสนิยมการฟังเพลงของผู้ใช้งานได้ค่อนข้างดี
มันดีจนผมได้แรงบันดาลใจ  อยากสร้างแอพที่สามารถหาเพลงถูกใจมาให้เราฟัง โดยวิเคราะห์จากรสนิยมการฟังเพลงของเรา


แอพนี้สร้างจริงครับไม่ได้โม้  ทำเล่นๆเป็นโปรเจ็คท์ส่วนตัว  โดยใช้ Youtube API  เป็นฐานข้อมูลเพลง
ถ้าอธิบายให้เห็นภาพง่ายหน่อย แอพที่ผมสร้างมานั้น เป็นแค่แอพหาคลิปวิดีโอเพลงมาเล่นเองอัตโนมัติ
 โดยเจ้าคำว่า "อัตโนมัติ" ที่ว่านั้นต้องเกิดจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการฟังเพลง  จนได้รูปแบบที่เรียกว่า "รสนิยม"
เมื่อโปรแกรมเข้าใจรสนิยม  ก็จะการสร้าง Algorithm กระบวนการควานหาเคลิปวิดีโอเพลงที่เข้าข่ายรสนิยม มาเล่นให้เราฟังโดยอัตโนมัติ

โปรเจ็คท์นี้ใช้เวลาพัฒนาเขียนโปรแกรมตอนว่างๆ  ทำอยู่เป็นปียังไม่ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการสักที
ณ ปัจจุบันนี้ได้ทำการดองโปรเจ็คท์ไปเรียบร้อยแล้วครับ ดองจนกว่าตัวเองจะมีปัญญาความสามารถทำให้มันดีกว่านี้
ส่วนตอนนี้ก็ใช้งาน Spotify ไปก่อน ☕

เครดิตรูปภาพประกอบ : pixabay

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อย่าเชื่อใจความทรงจำ

สืบเนื่องมาจากเมื่อคืนผมดูหนังสยองขวัญเรื่องหนึ่ง  หนังเก่ามากอยากดูมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสได้ดู  นึกถึงขึ้นมาได้ก็เลยจัดซะ

เป็นหนังที่สร้างจากผลงานเขียนของ Stephen King เจ้าพ่อนิยายสยองขวัญ พล็อตเรื่องไม่หวือหวาแต่ดำเนินเรื่องได้น่าติดตาม
ว่าด้วยทนายอ้วนผู้รักการกินเป็นชีวิตจิตใจขับรถไปชนหญิงยิปซีเสียชีวิตคาที่  เนื่องจากพี่แกเป็นคนมีเส้นสายรู้จักผู้มีอิทธิพล
กอปรกับเจ้าหน้าที่รัฐรังเกียจพวกยิปซีเร่ร่อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้พี่ทนายอ้วนหลุดคดีไปอย่างสบายๆ
เมื่อทำอะไรทางกฏหมายไม่ได้  ลุงยิปซีพ่อของหญิงที่ตายไป จึงทำพิธีสาปแช่งทนายอ้วนให้ผอมลงทุกวันจนกว่าจะแห้งตาย


แรกๆมันก็ดี ลูกเมียของพี่อ้วนปลื้ม ในที่สุดพ่อก็ลดน้ำหนักได้สำเร็จ ผ่านไปสักพักชักเริ่มแปลกๆทำไมลดไม่หยุดจนต้องไปหาหมอ
หมอบอกว่าไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีพยาธิใดๆ  ร่างกายทำงานปกติ เรียกว่าสูตรลดความอ้วนของลุงยิปซีนี่เด็ดจริงๆ
ชนิดยาลดความอ้วนหรือคอร์สลดน้ำหนักเจ้าไหนก็ทำไม่ได้ ดูๆแล้วลุงยิปซีแกควรเลิกเร่ร่อนเปลี่ยนมาทำธุรกิจเสริมความงามดีกว่า
ความสยองขวัญของหนังเรื่องนี้เริ่มเมื่อพี่อ้วนแกผอมเกินพอดี  จากนั้นทุกท่านน่าจะพอเดาทางออก


อ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจจะมีบางท่านเริ่มมีความสงสัย แล้วมันเกี่ยวไรกับหัวข้อ "อย่าเชื่อใจความทรงจำ"
จากตรงบรรทัดแรก ผมบอกว่า"หนังเก่ามาก"  ซึ่งระดับความเก่าที่ฝังอยู่ในหัวนั้น จำไว้ว่าอยากดูเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็กสมัยประถม
ผมรับรู้การมีหนังเรื่องนี้จากการอ่านนิตยสารวิทยาศาสตร์ที่พี่ชายซื้อประจำ ซึ่งจะมีคอลัมน์หนึ่งที่เอาไว้สำหรับเขียนแนะนำหนัง

แล้วผมก็พบความจริงว่าความทรงจำเหล่านั้นมันผิด ด้วยหลักฐานที่เจอในตอนค้นหาหนัง นั่นคือปีที่หนังเข้าฉายครั้งแรกคือปี 1996
และฉายที่สหรัฐอเมริกาด้วย  ถึงแม้ในยุคนั้นหนังเข้าโรงที่อเมริกาพร้อมกับไทยเป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นหนังฟอร์มใหญ่
Thinner  ถ้าวิจารณ์กันตรงๆ ถือว่าเป็นหนังเกรด B มันอาจจะเข้าโรงหนังในเมืองไทยหลังจากฉายในอเมริกาไปหลายเดือน
หรืออาจจะไม่ได้เข้าโรงเลย มาลงเป็นวิดีโอเทปแทนก็เป็นไปได้   ประเด็นมันอยู่ที่ว่าผมรู้จักการมีตัวตนของหนังเรื่องนี้ได้อย่างไร !?

พึงระลึกไว้อย่างนะครับ ช่วงก่อนปี 2000  ข้อมูลข่าวสารมันไม่ได้ไวเหมือนยุคนี้    Internet มีแล้วแต่ไม่ได้แพร่หลายกว้างไกล
ส่วนใหญ่ยุคนั้นเราเสพสื่อบันเทิงได้จากทีวีกับสิ่งพิมพ์  ข่าวประเภทว่ากำลังสร้างหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ อัพเดทความคืบหน้า
มันมีเฉพาะหนังฟอร์มยักษ์หรือหนังภาคต่อที่คนให้ความสนใจเป็นพิเศษ    พวกหนังเล็กๆก็อาจจะมีข่าวแต่น้อยมาก

ดังนั้นโอกาสที่ผมจะรู้จักหนัง Thinner อย่างไวสุดก็ปี 1995  - 1997   อาจจะได้ข้อมูลจากการอ่านนิตยสารจริง
แต่พอมานั่งนึกดู นิตยสารวิทยาศาสตร์เนี่ยนะแนะนำหนังสยองขวัญ ไม่ได้มี Special Effect น่าสนใจ แถม Production ธรรมดา
แสดงว่าความทรงจำส่วนนี้เชื่อถือไม่ได้เช่นกัน ผมน่าจะรู้จากการเห็นโฆษณาหนังในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบันเทิงมากกว่า
 ดีไม่ดีอาจจะรู้จักตอนปี 1999 ขึ้นไป  เมื่อบิ๊กซีนีม่าช่อง 7 เอามาฉายลงทีวี แล้วเผอิญผมไปเห็นโฆษณาเลยฝังใจจำ
และข้อสำคัญสุด  ตั้งแต่ปี 1996 ขึ้นไป ผมเป็นวัยรุ่นแล้วนะครับ ไม่ใช่เด็กประถมแน่นอน


เฮ้ยยยยยย!!!!  ร้องเฮ้ยให้กับตัวเองดังๆ   งั้นแสดงว่าความทรงจำปลอม(False Memory)มันเกิดตอนเราอายุวัยรุ่นนะสิ
ทำไมถึงได้มั่วสุดกรู่ขนาดนั้น มั่วปีไม่พอ มั่วอายุตัวเองด้วย  เป็นไปได้ว่าผมเอาความทรงจำวัยเด็กมาผสมกับความทรงจำวัยรุ่น
ตอนเด็กผมอาจจะเคยอ่านนิยายเรื่อง Thinner ของ Stephen King  มาก่อน ซึ่งนิยายเรื่องนี้ออกวางจำหน่ายตอนปี 1984
ถ้าจะมีการแปลเป็นภาษาไทยหรือมีใครเอาเนื้อหาบางส่วนมาเขียนตีพิมพ์ในไทย ผมคงมีโอกาสได้อ่านน่าจะหลังจากนั้นสัก 4-5 ปี
นั่นเป็นช่วงเวลาที่ผมเป็นเด็กประถมพอดี  อ่านแล้วก็ลืมว่าเคยอ่าน แต่ความทรงจำได้ทำการบันทึกข้อมูลเก็บซ่อนไว้เรียบร้อย

Richard BachMan เป็นชื่อนามปากกาของ Stephen King

ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการรับรู้ในบริบทป็นหนังแบบอ้อมๆ  เพราะเวลาอ่านนิยายมักจะจินตนาการนึกเป็นภาพตามไปด้วย
จนมาเห็นข่าวหนัง Thinner ผ่านทางทีวีหรือสิ่งพิมพ์  ด้วยความที่เป็นข้อมูลผ่านตา ไม่ได้ให้ความสนใจลงรายละเอียด
 ดังนั้นผมจึงจำแค่ว่า Thinner ทำเป็นหนังแล้ว รู้สึกอยากดูจังเลย
จากนั้นไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด  ถึงได้เกิดกระบวนการหยิบความทรงจำสองช่วงอายุมาผสมกันโดยไม่รู้ตัว
ระหว่างวัยเด็กวัยที่มีจินตนาการสูงกับวัยรุ่นวัยที่มีกระบวนความคิดสับสนขาดสติได้ง่าย  กลายเป็นความทรงจำปลอม
สมองเก็บบันทึกใหม่ เพียงแต่คราวนี้มันอยู่ในรูปแบบความทรงจำปลอม  ที่ผมดันเผลอไปเชื่อมันอย่างสนิทใจ

พอได้ข้อสรุปให้ตัวเองอย่างนี้ ก็ชักเริ่มสงสัยความทรงจำเรื่องอื่นๆ   มันอาจมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกก็เป็นไปได้
แล้วจะรู้ได้ไง เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ  เราจะเชื่อใจความทรงจำได้แค่ไหน  น่าคิดนะ ☺

เครดิตรูปภาพประกอบ :  pixabay , wikipedia , IMDb