วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บันเทิงกับการเมือง

กระแสแบนสินค้าเพราะมีดาราคนนั้นคนนี้มาเป็นฟรีเซนเตอร์  ไอ้กระแสแบบนี้ผมเห็นมาเป็นระยะๆในช่วงวิกฤติการเมืองสิบกว่าปีของบ้านเรา
ส่วนตัวแล้วผมมองว่าสำหรับเมืองไทยแบนยากนะ ยากที่จะหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
เพราะกลุ่มทุนใหญ่ในไทยมันมีอยู่ไม่กี่กลุ่ม ไล่ไปไล่มาสุดท้ายทุกสินค้าที่เราใช้ประจำวันก็ของพวกเขาหมดแหละ
เอาล่ะ!!! ขี้เกียจขยายความ  วันนี้จะไม่เขียนถึงเรื่องบ้านตัวเอง แต่จะพูดถึงเรื่องบ้านคนอื่นบ้าง

ปฎิเสธไม่ได้ว่าสื่อบันเทิงเป็นเครื่องมือทางการเมืองชั้นดี ถึงแม้การศึกษาจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพกว่า
เพราะสามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ทางความคิดที่ต้องการฝังหัว แต่มีข้อจำกัดว่าทำได้แค่เฉพาะเด็กและเยาวชน
ในขณะที่สื่อบันเทิงสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยทุกเวลา   กรอกหูผ่านตาทุกวันมีผลทำให้ประชาชนบางส่วนซึมชับยอมรับโดยไม่รู้ตัว

อาจกล่าวได้ว่าหากบุคคลผู้มีอำนาจทางการเมืองหากมีสื่อบันเทิงสนับสนุน  ก็เหมือนได้ประชาสัมพันธ์ชั้นดีมาเป็นกระบอกเสียง
แต่ถ้าสื่อบันเทิงต่อต้าน ภาพพจน์บุคคลนั้นจะดูย่ำแย่ติดลบ แม้ทำผิดเพียงน้อยนิดก็นำเสนอเสียจนเป็นความผิดร้ายแรงไม่อาจยอมรับได้

บุคคลากรในวงการบันเทิงโดยเฉพาะดารานักแสดง เป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของประชาชน
ดาราจะรักฝั่งไหนเชียร์ฝ่ายไหนมีแนวคิดทางการเมืองแบบไหนเป็นสิทธิส่วนบุคคลของเขา
แต่อย่าลืมว่าดาราสามารถใช้ชื่อเสียงภาพลักษณ์และความดังของตน มาเป็นแรงสนับสนุนขนาดใหญ่ให้ขั้วการเมืองที่ตัวเองเชียร์
กรณีโอบาม่าและทรัมป์เป็นข้อพิสูจน์ในเรื่องเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี    ทั้งดาราทั้งสื่อบันเทิงในอเมริกาแสดงออกมาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

นับตั้งแต่ทรัมป์ชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี  แรงต่อต้านจากคนวงการบันเทิงอเมริกากระแทกออกมาไม่ขาดสาย
อาทิ เช่น โปรเจ็ค He Will Not Divide Us ของ Shia LeBeouf




ซีรีย์ดัง American Horror Story  Cult (Season 7) มาแบบชัดเจนเต็มๆ  ไม่รู้ซีซั่นนี้เรทติ้งเป็นไง  คาดว่าไม่รักก็เกลียดเลย
รวมทั้งการจัดงานต่างๆล้วนต้องมีอะไรให้มาแซะอีตาทรัมป์ตลอด  จนบางครั้งก็รู้สึกว่าดาราบ้านเขาทำตัว "เยอะ" เกินไปหน่อย
เอาเถอะ!! ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ให้มากนัก  มันเป็นสิทธิ์ของพวกเขาและเป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยอย่างที่ควรเป็น

หนังฮอลลีวู้ดถ้าสังเกตดีๆจะมีสัญลักษณ์ทางการเมือแนบมาด้วยตลอด ตามแต่บริบททางการเมืองของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้นๆ
ในช่วงที่โอบาม่าเป็นประธานาธิบดี หนังเกี่ยวกับประเด็นคนผิวสีจะถูกผลิตออกมามากเป็นพิเศษ
เช่น    The Butler (2013) ,   12 Years a Slave (2013) ,  Django Unchained (2012)



สังเกตปีที่ออกฉาย 2012-2013 มันเป็นปีเลือกตั้งและขีี้นตำแหน่งสมัยที่ 2 ของโอบาม่า
เป็นความบังเอิญหรือมีนัยนะอะไรแอบแฝง ก็ไปคิดต่อกันเอาเองแล้วกันนะครับ
หนังสามเรื่องนี้ถือเป็นหนังคุณภาพเยี่ยมได้ทั้งกล่องได้ทั้งเงิน  ประเด็นหลักของหนังทั้ง 3 เรื่องนี้แกนกลางจะว่าด้วยสิทธิของคนผิวสี



The Butler นี่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งมากว่าเชียร์พรรคไหน 
ส่วน Django Unchained แม้จะมีการนำเสนอที่ดุดันเน้นสะใจ แต่กลับมีประเด็นรองที่น่าสนใจให้เก็บไปวิเคราะห์ต่อ
ว่าด้วยการกดขี่เหยียบย่ำสิทธิส่วนหนึ่งก็มาจากคนผิวสีกระทำกันเอง 


                                           

 บางคนอ้างว่ามันเป็นแค่เหตุผลฟอกขาวให้คนขาวดูผิดน้อยลง   แต่ใช่ว่าจะไม่มูล เหตุที่มีการค้าทาสผิวสีกันจนเป็นตลาดใหญ่โต
ปัจจัยหลักก็คนผิวสีในกาฬทวีปด้วยกันเองนี่แหละจับคนต่างเผ่ามาขายให้คนผิวขาว
หากเรามองด้วยสายตาคนปัจจุบันก็ขัดใจไม่น้อย ทำไมถึงทำร้ายกันเองอย่างนี้

ประเด็นพวกนี้เป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คนที่เอาคนมาเป็นทาสนะผิดแน่  แต่คนส่งเสริมกับคนวางเฉยนี่สิจะไม่มีส่วนร่วมในความผิดนี้เลยหรือ

น่าเสียดายที่หนังซูเปอร์ฮีโร่  Black Panther  หลีกเลี่ยงที่จะแตะประเด็นนี้  ทั้งที่ดูจะมีการคาบเกี่ยวกันอยู่
หรือแม้แต่แกนหลักของเรื่องการทำตัวนิ่งเฉยของวากันด้าในประวัติศาสตร์ค้าทาสก็ไม่ขยายความเพิ่ม ไปเน้นผลลัพธ์ปัจจุบันเสียมากกว่า
แต่ปิดเรื่องด้วยประโยคเท่ๆแต่เสียดสีนโยบายทรัมป์เต็มๆ

"But in times of crisis the wise build bridges, while the foolish build barriers. We must find a way to look after one another as if we were one single tribe.”

ถ้า Black Panther สร้างและออกฉายในยุคโอบาม่า  โทนหนังมันจะเป็นยังไงนะ  อาจจะเน้นในส่วนอดีตของตัวร้ายให้หนักขึ้น ว่ารันทดยากแค้นเพียงใด
ประโยคเด็ดปิดท้ายเรื่องก็อาจจะมีอะไรที่มาในทำนอง "Yes We Can"  ☺