วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

[บันทึกความรู้] Critical Thinking for Business

จากหลักสูตรเรียนออนไลน์ของ https://mooc.chula.ac.th/

Paradigm กรอบความคิด  ,ประสบการณ์เก่าของเราเป็นตัวกรองข้อมูล

Critique  วิพากษ์   ประกอบไปด้วย การแบ่งแยก (Separtate) และการเลือก (Choose)

Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์

Socratic Method  วิธีการตั้งประเด็นคำถาม
กระบวนการกระตุ้นเปิดประเด็นให้เกิดการอภิปราย แสดงความเห็นเป็นวงกว้าง
พร้อมทั้งตั้งคำถามเพื่อให้เจาะลึกลงไปว่าความคิดดังกล่าวถูกสังเคราะห์ได้อย่างไร

การอภิปรายเรียบเรียงกระบวนการคิดจะทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขวางขึ้น
สามารถคิดถึงคำตอบที่เป็นไปได้มากขึ้นที่สำคัญช่วยลดอคติของตน
(เมื่อลดอคติ -- > pardigm มีความยืดหยุ่น  เปิดกว้างให้เรียนรู้อะไรใหม่ๆได้มากขึ้น)
How do you know that ?
คุณรู้ได้อย่างไร ?
เมื่อเรารับข้อมูล ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ให้ถามตัวเองอีกครั้ง
- เรารู้ได้อย่างไร
- คิดได้อย่างไร
- ที่มาที่ไปของความคิดนั้น
- ทำไมถึงคิดเช่นนั้น

Thinking About Thinking  คิดก่อนคิด
เปลี่ยนวิธีคิดแบบ What is ( ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ )
เป็น  What can be (มีอะไรที่สามารถเป็นไปได้อีกบ้าง   , ทางเลือกอื่น ,   สิ่งน่าสนใจอื่นๆ)

เทคนิคการตั้งคำถาม
   การตั้งคำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ดีต่อไปได้
- อย่าเพิ่งปักใจเชื่อ
- อย่าเพิ่งพอใจกับคำตอบในขณะนั้น
- ฝึกฝนให้มีความช่างสงสัยและเริ่มตั้งคำถาม
- มีความเป็นไปได้อื่นๆอีกหรือไม่

- What if จะเกิดอะไรขึ้นถ้า...
- What if...Then  แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ต่อไป(ผลลัพธ์
)

Types of Questioning
- Position จุดยืน คือ การยืนยันคำตอบหนึ่งๆ เป็นความพยายามที่จะสรุปประเด็น
เช่น   ขาดทุนติดกันมาหลายเดือน ควรจะทำธุรกิจต่อไปหรือไม่  คำตอบมีอยู่สองคำตอบ  ทนทำต่อไปหรือเลิกทำ 
ถือว่าเป็นคำถามที่มีจุดยืน  การตั้งคำถามนี้ในที่ประชุมโดยใช้เสียงโหวตตัดสิน  ผลโหวตอาจไม่ได้นำพาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง
หรือแม้แต่ใช้ตั้งถามตัวเอง ก็อาจจะเผลอตอบไปโดยใช้อารมณ์ตัดสินล้วนๆ

- Interest
จุดสนใจ คือ การระดมความคิดจากทุกๆฝ่าย เพื่อมุ่งแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกอื่นๆที่แตกต่างออกไป
เช่น    มีทางเลือกอะไรบ้าง ?   ,หาสาเหตุทำไมถึงขาดทุน , หาวิธีดำเนินงานธุรกิจใหม่ ,     คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาจากวิธีการต่างๆที่นำมาแก้ไขปัญหา